ทั่วไป

ผู้เชื่อมต่อสุขภาพ Health Connector Mendip

ในประเทศอังกฤษ และอีกหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้ระบบสุขภาพภาครัฐจะครอบคลุมการดูแลความเจ็บป่วยของประชาชนทุกคน แต่ก็ยังมีผู้เผชิญความปัญหาสุขภาพทางกายและจิตจำนวนหนึ่งก็ยังคง “ไม่รู้” ช่องทางและวิธีการที่จะเข้าถึงการรับบริการสุขภาพในระบบ ทำให้พลาดโอกาสในการป้องกันส่งเสริมสุขภาพ และได้รับบริการตามสิทธิ์ที่พึงมี โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบาง ประชาชนที่มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่คนเดียว เป็นต้น วิธีการแก้ปัญหาหนึ่งแบบชุมชนกรุณา คือการพัฒนา “ผู้เชื่อมต่อสุขภาพ” ในชุมชน ซึ่งจะช่วยเผยแพร่ความรู้ สนับสนุนให้เพื่อนร่วมชุมชนเข้าถึงและรับบริการสุขภาพตามระบบสวัสดิการสังคมและสุขภาพที่มีอยู่ ฟังดูไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร สังคมไทยก็มีคนที่ทำหน้าที่นี้อยู่ ก็คือ อสม. หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนั่นเอง  อย่างไรก็ตาม Health Connectors Medip ประเทศอังกฤษ เรียกคนทำหน้าที่เชื่อมต่อการดูแลสุขภาพว่า Health Connectors หรือผู้เชื่อมต่อสุขภาพ แนวคิดนี้อยู่ในข่ายความคิดเดียวกับงานสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care) ที่สนับสนุนการส่งเสริมป้องกันสุขภาพ ช่วยให้ผู้เผชิญความเจ็บป่วยได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนผู้ต้องการความช่วยเหลือที่ตกสำรวจจากระบบสุขภาพ Health Connectors นี้แหละก็จะช่วยสอดส่องคัดกรองให้เขาได้รับการดูแลตามสมควร โปรแกรมนี้จึงช่วยให้ชุมชนมีทรัพยากรบุคคลช่วยดูแลส่งเสริมสุขภาพ โอกาสที่ผู้ต้องการเข้าถึงการดูแลสุขภาพย่อมมีมากขึ้น และเมื่อ Health Connectors ทำหน้าที่เชื่อมต่อการดูแลในประเด็นการดูแลความตาย และความสูญเสีย โปรแกรมนี้จึงอยู่ในขอบข่ายชุมชนกรุณาด้วย ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโปรแกรม Helath Connectors Mendip …

ผู้เชื่อมต่อสุขภาพ Health Connector Mendip Read More »

เรื่องเล่าดิจิทัล (Digital Storytelling) กับการสื่อสารสร้างทัศนคติที่ดีต่อการดูแลแบบประคับประคอง

เอกภพ สิทธิวรรณธนะ19 พฤษภาคม 2565 ผู้เขียนได้ยินและได้เห็นเรื่องเล่าดิจิทัล หรือ Digital Storytelling ครั้งแรก ในงานประชุมนานาชาติด้านการสาธารณสุขและการดูแลแบบประคับประคอง Public Health and Palliative Care 2019 ที่ออสเตรเลีย ตัวชิ้นงานเองเป็นทั้งผลลัพธ์และการสื่อสารงานวิชาการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนงานดูแลแบบประคับประคอง ด้วยเสน่ห์ของงานวิจัยแบบนี้ที่เสพง่าย (และมีวีดีโอให้ดู) วิทยากรเพียงเกริ่นถึงกรณีผู้ให้ข้อมูลในวีดีโอ เปิดวีดีโอให้ชม และตอบคำถามช่วงท้ายเท่านั้น งานนำเสนอส่วนที่เหลือคือการฉายวีดีโอให้ผู้ร่วมประชุมรับรู้เรื่องราวจากผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่ผู้ป่วยระยะท้ายในฮอซพิซ ด้วยเสียงและภาพประกอบของตนเอง หลังฉายจบค่อยเล่าเบื้องหลัง กระบวนการสร้างเรื่องเล่า เรื่องเล่าดิจิทัล แม้ดูเผินๆ อาจเข้าใจว่าคือวีดีโอสารคดีชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับชีวิตผู้ป่วย แต่ในทางญาณวิทยา เรื่องเล่าดิจิทัล ต่อยอดจากระเบียบวิธีวิจัยแบบเรื่องเล่า (Narrative Inquiry) ที่ให้ความสนใจกับประสบการณ์ของผู้เล่าเรื่องที่มักเป็นผู้อยู่ชายขอบของสังคม  หากเป็นการวิจัยเรื่องเล่าดั้งเดิม เรื่องเล่าจะอยู่ในรูปบันทึกเรื่องเล่า โดยนักวิจัยจะสร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างสัมพันธภาพกับผู้เล่าเรื่อง แล้วฟังประสบการณ์วิกฤตของผู้เล่าเรื่อง ปล่อยให้ผู้เล่าได้เปิดเผยเรื่องราวชีวิตของตนเองอย่างพรั่งพรูออกมาโดยนักวิจัยแทรกแซงให้น้อยที่สุด แต่ในปัจจุบัน คนอ่านบันทึกเรื่องเล่าจากงานวิจัยกันน้อยลง นักวิจัยจึงต้องเรียนรู้ที่จะใช้สื่อใหม่อย่างสื่อดิจิทัล มาเป็นเครื่องมือสร้างเรื่องเล่าพร้อมไปกับการเล่าเรื่อง นักวิจัยทีมนี้สนใจประสบการณ์ของผู้สูงอายุ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งผู้ป่วยระยะท้ายที่มีต่อการรักษาแบบประคับประคอง  เริ่มจากรับสมัครกลุ่มคนเล่าเรื่อง …

เรื่องเล่าดิจิทัล (Digital Storytelling) กับการสื่อสารสร้างทัศนคติที่ดีต่อการดูแลแบบประคับประคอง Read More »

เรื่องของบัว เรื่องเล่าสื่อสารชุมชนกรุณา

เรื่องของบัว คือนิทานสั้นๆ เรื่องหนึ่งที่ทีมงานใช้สื่อสารแนวคิดชุมชนกรุณา นิทานเรื่องนี้แต่งโดย Milford Care Centre สถานดูแลผู้สูงอายุ และฮอซพิซ ประเทศไอร์แลนด์ ต้นฉบับมีชื่อว่า Bill’s story นิทานเรื่องนี้เข้าใจง่ายดี โครงการชุมชนกรุณา จึงปรับเรื่องเล็กน้อยและวาดภาพประกอบใหม่ให้เข้ากับบริบทไทย

เราจะช่วยให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองได้อย่างไร

การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลปัญหาองค์รวมทางกาย จิตสังคม กฎหมาย และจิตวิญญาณ ที่ผู้ป่วยและครอบครัวต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยที่มีชีวิตเหลือจำกัด ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเข้าถึงการดูแลแบบประคัปประคองจากหลากหลายแหล่งบริการ ทั้งโรงพยาบาล คลินิกผู้ป่วยนอก ฮอซพิซ สถานดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลสุขภาพชุมชน และที่บ้าน การดูแลหหแบบประคับประคองคือพื้นฐานที่ช่วยให้มนุษย์บรรลุสุขภาวะ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิ์พื้นฐานของมนุษย์ การดูแลแบบประคับประคองสามารถเริ่มทำตั้งแต่แรกวินิจฉัย และดูแลควบคู่ไปกับการรักษาตามปกติ (Brennan, F., 2008)

จดหมายข่าวชุมชนกรุณา ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2565

เนื้อหาเด่น วงล้อมแห่งการดูแล New Essentials Palliative Care ชูคัตสึ เพื่อนแท้ชื่อความตาย ห้องสมุดผีเสื้อ สมุดภาพเมืองแห่งกรุณา Podcast รายการใหม่ เสียงแห่งความกรุณา ห้องเรียนเบาใจ ดาวน์โหลดได้ที่ http://cocofoundationthailand.org/wp-content/uploads/2022/03/2022-3-จดหมายข่าวฉบับที่-3.pdf อ่านออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ ISUUU https://issuu.com/cocofoundationthailand/docs/2022-3_3

วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care)

เอกภพ สิทธิวรรณธนะ28 กุมภาพันธ์ 2565 ช่วงนี้ผมได้เรียนรู้ตัวอย่างการทำงานชุมชนกรุณาทั้งในและต่างประเทศ ค่อยๆ เห็นกรอบคิดกรอบหนึ่งที่ปรากฏบ่อยๆ ในกิจกรรม แผนงาน โครงการพัฒนาความเข้มแข็งของบุคคลและชุมชนในการรับมือในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้านหรือชุมชน นั่นคือ Circles of Care (วงล้อมแห่งการดูแล) ในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วกำลังเผชิญภาวะสังคมสูงวัยรุนแรง เกิดปัญหาขาดแคลนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ป่วยระยะท้าย ความขาดแคลนดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมากทั้งทางกายและใจ ผู้ป่วยที่มีกำลังจ่ายอาจจะยังพอจ่ายเงินซื้อบริการบ้านพักผู้สูงอายุหรือโรงพยาบาลได้ ส่วนผู้ไม่มีกำลังจ่ายก็ต้องทนทุกข์ ศ. จูเลียน อาเบล (Julian Abel) และคณะ (2013) เสนอว่าภาวะดังกล่าวเป็นทั้งวิกฤตของผู้ป่วยระยะท้าย ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสพลิกฟื้นภูมิปัญญาในการดูแลการตายและความสูญเสียของชุมชน การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้อยู่และตายดีในชุมชนไม่ใช่สิ่งใหม่ หากเป็นสิ่งสามัญที่เคยดำรงอยู่มาก่อนที่การแพทย์สมัยใหม่จะเกิดขึ้น ความทุกข์ของเพื่อนที่กำลังสบตากับความตาย เรียกร้องให้สมาชิกหันมาดูแลใส่ใจกันและกัน ผลลัพธ์จากการสร้างวงล้อมที่โอบอุ้มการดูแลไม่เพียงช่วยให้เพื่อนของเราจากไปอย่างสงบเท่านั้น แต่ยังทำให้เรามั่นใจในการดูแลความทุกข์จากความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสียของตัวเราและคนที่เรารักอีกด้วย ส่วนจะทำอย่างไรนั้น อาเบล เสนอโมเดลในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนกรุณาที่ชื่อว่า วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care) กรอบคิดของ Cilcles of Care นั้นเรียบง่าย เปรียบวงล้อมการดูแลเป็นวงกลมที่โอบกันเป็นชั้น มีจุดศูนย์กลางคือ ผู้เผชิญความทุกข์ ซึ่งในที่นี้คือ ผู้เผชิญความเจ็บป่วยร้ายแรง …

วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care) Read More »

บันทึกการอ่าน Matching response to need: What makes social networks fit for providing bereavement support?

Aoun, S. M. และคณะ ทำงานเกาะติดประเด็นการดูแลใจผู้สูญเสีย (Bereavement Care) หลากหลายแง่มุม งานศึกษาเชิงคุณภาพชิ้นนี้ตั้งคำถามว่า เมื่อถึงเมื่อใครคนหนึ่งสูญเสียคนรักไป พวกเขามีวิธีแสวงหาความช่วยเหลือจากเครือข่ายสังคมของเขาอย่างไร ศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากผู้สูญเสียจำนวน 20 คน ตลอดระยะเวลากว่า 5 เดือน โดยใช้กรอบแนวคิด Goodness of Fit Network มาเป็นโครงสร้างการสัมภาษณ์ คือถามว่า ในรอบความสูญเสียที่ผ่านมา ผู้สูญเสียคิดอย่างไรกับ แหล่งช่วยเหลือ (source) ปริมาณการช่วยเหลือ (amount) เวลา (timing) หน้าที่ (function) และ โครงสร้าง (structure) ของการช่วยเหลือ ข้อค้นพบที่น่าสนใจมีดังนี้ เกี่ยวกับแหล่งความช่วยเหลือในการดูแลความสูญเสีย ผู้สูญเสียรับแหล่งช่วงเหลือทั้งจากภาคางการ (แพทย์ นักบำบัด นักจิตวิทยา นักบวช) และไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว เพื่อน กลุ่มงานอดิเรก อาสาสมัคร self help group …

บันทึกการอ่าน Matching response to need: What makes social networks fit for providing bereavement support? Read More »

จดหมายข่าวชุมชนกรุณา ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2565

เนื้อหาเด่น แนวคิดชุมชนกรุณา กฎบัตรเมืองกรุณา Compassionate City Charter ประสบการณ์กระบวนกรชุมชน Green Book Cafe กับดิเรก ชัยชนะ ห้องเรียนเบาใจ กิจกรรม สมุดภาพเมืองแห่งความกรุณา ผ่อนกายพักใจด้วยไมตรี ดาวน์โหลดได้ที่ http://cocofoundationthailand.org/wp-content/uploads/2022/02/2022-2-enews-February-2022.pdf อ่านออนไลน์ได้ที่เว็บ ISUU https://issuu.com/cocofoundationthailand/docs/2022-2_enews_february_2022

กฎบัตรเมืองกรุณา (Compassionate City Charter)

ในชุมชนและเมืองของเรา ยังมีเพื่อนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ร่วมกับเรา แต่มักถูกละเลยไป ได้แก่ ผู้ป่วยที่เหลือเวลาในชีวิตจำกัด ผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้เผชิญความสูญเสีย เพื่อนกลุ่มนี้มักไม่ได้รับการใส่ใจจากสังคมในวงกว้าง รวมทั้งระบบการดูแลสุขภาพที่เป็นทางการ เพื่อนกลุ่มนี้มักประสบความทุกข์จากความเจ็บป่วยและภาวะคุกคามสุขภาพ ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยชีววิทยา จิตวิทยา ปัญหาสังคม ปัญหาที่เกี่ยวกับการทำงาน จนได้รับผลกระทบหลากหลาย เช่น ความเหงา ความโดดเดี่ยว การตีตรา การสูญเสียงาน ความวิตกกังวล ซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย กฎบัตรเพื่อการปฏิบัติสู่เมืองกรุณา เมืองกรุณา คือชุมชนที่ตระหนักว่าวงจรแห่งสุขภาพและความเจ็บป่วย เกิดและตาย พบพานและสูญเสีย เกิดขึ้นในชีวิตเป็นวัฏจักรธรรมชาติ เมืองกรุณาคือชุมชนที่ตระหนักว่าการดูแลกันและกันในช่วงเวลาวิกฤตและสูญเสีย ไม่ใช่ภาระงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือนักสังคมสงเคราะห์เท่านั้น แต่คือความรับผิดชอบของคนทุกคน เมืองกรุณา คือชุมชนที่ทำงานสาธารณะในการส่งเสริม เอื้ออำนวย สนับสนุน และเฉลิมฉลองการดูแลเพื่อนมนุษย์ในช่วงเวลาที่พวกเขาเผชิญประสบการณ์ท้าทายของชีวิต อาทิ เจ็บป่วยเหลือเวลาในชีวิตอย่างจำกัด ประสบความพิการเรื้อรัง ประสบความชราและเสื่อมทั้งร่างกายและสมอง ประสบความโศกเศร้าและสูญเสีย ประสบความยากลำบากในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังยาวนาน ขณะที่ระบบบริการสุขภาพเพียรทำหน้าที่สนับสนุนการดูแลดังกล่าวให้มีคุณภาพ เราทุกคนพึงตระหนักว่าวิกฤตของชีวิตจากความเจ็บป่วย การตาย ความตาย และความสูญเสีย อาจมาเยือนเราเมื่อใดก็ได้ เมืองกรุณาคือชุมชนที่ตระหนักถึงความจริงนี้ด้วยความไม่ประมาท และพร้อมจะยื่นมือเข้าสนับสนุน ในวาระนี้เอง ผู้นำประเทศ/ เมือง/ องค์กร/ …

กฎบัตรเมืองกรุณา (Compassionate City Charter) Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา