เอกภพ สิทธิวรรณธนะ

บทบาทขององค์กรชุมชนกรุณา/เมืองกรุณา ในการสนับสนุนการดูแลความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสีย

เดือนมีนาคม 2567 ผ่านมา ผมได้ตอบแบบสอบถามคณะวิจัยจาก Bern Switzerlands ในแบบสอบถามถามว่าองค์กร/กลุ่มที่ทำงานชุมชนกรุณาในเมืองต่างๆ ทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับหน้างานต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ ตอบแล้วก็คิดว่าภาคีเครือข่ายคนทำงานสนับสนุนการอยู่ดีตายดีในประเทศไทยเองก็ทำงานหลายอย่างที่ตรงกัน จึงเขียนรายการกิจกรรม/ งาน ที่อยู่ในขอบเขตของงานชุมชนกรุณา (Compassinate Communities) ดังนี้ ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยยังรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์อยู่ครับ ว่ากิจกรรมร่วมขององค์กรในประเทศต่างๆ ที่กำลังขับเคลื่อนชุมชนกรุณาอยู่ ทำอะไรเป็นส่วนใหญ่ อะไรสำคัญมาก อะไรสำคัญน้อย รายการกิจกรรมมีดังนี้ครับ งานผลักดันนโยบาย 1. เป็นสะพานทำงานร่วมระหว่างรัฐและภาคประชาสังคม เติมเต็มนโยบายสาธารณะ 2. ตอบโจทย์ความท้าทายด้านประชากรและสังคมในปัจจุบัน 3. ให้ความสำคัญกับความเคลื่อนไหวของพลเมือง เตือนให้ระลึกถึงคนที่มักถูกลืม ส่งเสียงความต้องการของประชากรกลุ่มต่างๆ 4. พัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชนกรุณา 5. สร้างแรงกระเพื่อมต่อนโยบายสาธารณะ (รวมทั้งนโยบายองค์กร) ติดตามผลกระทบนโยบาย 6. สร้างการรับรู้การดำรง/มีอยู่ของงานชุมชนกรุณา ทำเนื้อหาข้อมูล จัดงานฝึกอบรมให้ประชาชนกลุ่มใหญ่เข้าใจและเข้าถึงชุมชนกรุณาเพิ่มขึ้น 7. พัฒนาความเท่าเทียมทางเพศในงานดูแล ให้แน่ใจว่าการดูแลไม่ใช่งานเฉพาะของผู้หญิงเท่านั้น งานสร้างความตระหนักและความพร้อมของชุมชน 8. ช่วยให้ผู้คนคุ้นเคย ไม่แปลกแยกกับกับประเด็นการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การตาย ผ่านการให้ข้อมูล การสร้างบทสนทนา และประสบการณ์ …

บทบาทขององค์กรชุมชนกรุณา/เมืองกรุณา ในการสนับสนุนการดูแลความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสีย Read More »

End of Life Literacy through Public Education บันทึกการสนทนาในกิจกรรม PHPC Group Read ครั้งที่ 1

10 เมษายน 2567 ผู้สนใจงานชีวาภิบาล รวมกลุ่มสนทนาจากการอ่านบทความข้างต้น ใน discord ชีวาภิบาล มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ อะไรคือ End of Life Literacy บทความข้างต้น อยู่ใตำรา Oxford Textbook of Public Health Palliative Care ปี 2022 นำเสนอประเด็นการสาธารณสุขการดูแลแบบประคับประคองที่หลากหลาย โดยเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพงาน Palliative Care ประการหนึ่งคือการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับความตาย ชีวิตช่วงท้าย และโศกเศร้าจากการสูญเสียในประเทศไทยยังไม่กำหนดศัพท์บัญญัติที่ชัดเจน โดยในบทความนี้ใช้คำว่า ความรู้เท่าทันความตาย = Death Literacy (DL) โฟกัสที่การรับมือกับความตายโดยรวม ความรู้เท่าทันความโศก = Grief Literacy (GL) โฟกัสที่การรับมือกับความโศกเศร้าจากการเผชิญความสูญเสีย ทั้งก่อนผู้ป่วยเสียชีวิต ระหว่าง และหลังการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ความรู้เท่าทันชีวิตช่วงท้าย = End of Life Literacy (ELL) …

End of Life Literacy through Public Education บันทึกการสนทนาในกิจกรรม PHPC Group Read ครั้งที่ 1 Read More »

ทำไมการดูแลแบบประคับประคองจึงสำคัญในระบบสุขภาพปฐมภูมิ

การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care – PC) ได้รับการพูดถึงและยอมรับมากขึ้นในงานสาธารณสุขของประเทศไทย นอกจากนี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ระบบสุขภาพและภาคประชาชนส่งเสียงเรียกร้องให้งานดูแลแบบประคับประคอง แผ่ขยายออกจากโรงพยาบาลมาสู่ชุมชนมากขึ้นจากแนวคิด Community-based palliative Care (การดูแลแบบประคับประคองฐานชุมชน) การผสานการทำงานระหว่างการดูแลแบบประคับประคองกับระบบสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care – PHC) จึงเป็นสิ่งจำเป็น ผู้เขียนเรียบเรียงเหตุผล ความจำเป็น อุปสรรคของการทำงาน และแนวทางการพัฒนาการดูแลแบบประคับประคองในระบบสุขภาพปฐมภูมิ (ต่อไปจะใช้ตัวย่อว่า PCxPHC) จากเอกสารชุด Why Palliative Care Is An Essential Function of Primary Health Care ปี 2018 [1] ดังนี้ ความจำเป็นในการพัฒนา PCxPHC การดูแลแบบประคับประคองที่ผสานกับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustanable Development Goal – SDG) หมวดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal …

ทำไมการดูแลแบบประคับประคองจึงสำคัญในระบบสุขภาพปฐมภูมิ Read More »

English version Circles of Care exhibition

#0 Circles of care This is infographic of circles of care show the ecology of caring componant. The center of circles is patient Inner network represents close relation that take care sanitery, eatary or serious health issues Outer network represents friend, distant relative that could take care of daily and general well being Communities represents …

English version Circles of Care exhibition Read More »

The Soul of Care: Book Review

The Soul of Care: The Moral Education of a Doctor Arthur Kleinman จัดพิมพ์ในชื่อภาษาไทยว่า วิญญาณของการดูแล การบ่มเพาะทางศีลธรรมของแพทย์คนหนึ่ง อาร์เธอร์ ไคลน์แมน หนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องราวอัตชีวประวัติของอาร์เธอร์ ไคลน์แมน จิตแพทย์และนักมานุษยวิทยาการแพทย์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนเล่าชีวประวัติควบคู่ไปกับประวัติการดูแลโจน ไคลน์แมน ภรรยาของผู้เขียนที่ประสบความทุกข์ทรมานจากภาวะสมองเสื่อมในวัย 50 ปี เส้นทางการดูแลเต็มไปด้วยความยากลำบาก หากก็มีส่วนเปลี่ยนแปลงความเป็นมนุษย์ของผู้เขียนอย่างลึกซึ้ง ในระหว่างการดูแล ผู้เขียนบอกเล่าเรื่องราวการดูแลภรรยาจากหลากหลายกลุ่ม ทั้งตัวผู้เขียน ครอบครัว ชุมชน บุคลากรสุขภาพทั่วไปและเชี่ยวชาญ ผู้เขียนเล่าด้วยมุมมองที่หลากหลาย ทั้งจากสายตาของสามีคนหนึ่ง พ่อคนหนึ่ง และนักวิชาการแนวหน้าด้านมานุษยวิทยาการแพทย์ ไม่แปลกที่หนังสือเล่มนี้เสนอข้อวิพากษ์พฤติกรรมการดูแลของแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ที่ถูกครอบงำโดยชุดคุณค่าแบบทุนนิยมและการบริหารจัดการ แทนที่การดูแลด้วยมือ หัวใจ และการอยู่ตรงหน้ากับผู้ป่วย เรื่องเล่าและบทวิเคราะห์การดูแลของผู้เขียนและภรรยาในหนังสือเล่มนี้ สะท้อนให้เห็นข้อจำกัดของระบบบริการสุขภาพในสหรัฐอเมริกา การละเลยไม่ใส่ใจบำรุงระบบการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ความบิดเบี้ยวของระบบการศึกษาแพทย์ และบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพที่ค่อยๆ กัดกร่อนความสามารถและทักษะการดูแลของบุคลากรสุขภาพวิชาชีพ จนผู้ป่วยและครอบครัวรู้สึกว่าสถาบันสุขภาพเหล่านี้ไม่ได้ให้การดูแลในเวลาที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลืออย่างที่สุด ขณะเดียวกัน The Soul of …

The Soul of Care: Book Review Read More »

เจรจาสร้างความร่วมมือการพัฒนาชุมชนกรุณาด้วยหลักการ K.I.S.S. (Keep It Short and Simple)

การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการอยู่และตายดีตามแนวคิดชุมชนกรุณา ไม่สามารถทำโดยลำพัง ทักษะการสร้างความร่วมมือกับผู้นำจากพันธมิตรจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อระดมคน กำลัง และทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในชุมชน มาเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการตายดีมากขึ้น บทความนี้นำเสนอเทคนิคการสนทนาเพื่อเสนอความร่วมมือกับคนที่เราอยากร่วมงานด้วย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่หวังผลการเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการพูดที่สั้น กระชับ เรียบง่าย (Keep It Short and Simple หรือ K.I.S.S.) แต่ได้ผล สรุปเนื้อหาจากงานอบรมหลักสูตรการออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับกระบวนกรชุมชนกรุณา ที่บ้านไม้หอม พระราม 2 วันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2565 สอนโดย ครูอ้อ หทัยรัตน์ สุดา ทำไมต้อง K.I.S.S. ปัญหาหนึ่งของการเจรจาสร้างความร่วมมือที่พบบ่อยๆ ของผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมักสื่อสารเนื้อหาการทำงานที่มากและนานเกินไปในการเสนองาน ไม่น่าสนใจ จนผู้ที่เราอยากจะขอความร่วมมือจับใจความสำคัญไม่ได้ เป็นนามธรรม สิ่งที่เสนออาจจะยากเกินไปในการร่วมงานด้วย ทำให้พลาดโอกาสที่จะสร้างความร่วมมือ สร้างความรู้จักคุ้นเคย พัฒนาความไว้เนื้อเชื่อใจจนเกิดเป็นความร่วมมือระยะยาว การพัฒนาบทเจรจาสร้างความร่วมมือ การขัดเกลาเนื้อหาการเจรจาและประเด็นขอความร่วมมือให้สั้น กระชับ จำได้ เป็นไปได้ และง่ายที่จะร่วมมือด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเปิดประตูโอกาสในการร่วมมือ …

เจรจาสร้างความร่วมมือการพัฒนาชุมชนกรุณาด้วยหลักการ K.I.S.S. (Keep It Short and Simple) Read More »

แนวทางการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอยู่และตายดีแบบ Active Learning

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ2022-7-14 การเรียนรู้ความตาย หรือ Death Education เป็นหนึ่งในแนวทางการส่งเสริมป้องกันสุขภาพ (Health Promotion and Prevention Approach) ที่ช่วยสนับสนุนคุณภาพชีวิตช่วงท้ายและการตายดีที่ให้ผลที่คุ้มค่า ประชาชนที่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ย่อมมีแนวทางในการดูแลตัวเอง สามารถเลือกและตัดสินใจการดูแลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว มีโอกาสจะเข้าถึงการตายดีได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม การจัดกระบวนการเรียนรู้สนับสนุนการอยู่และตายดี ก็เป็นเรื่องท้าทาย เพราะความตายเป็นเรื่องสิ่งที่คนจำนวนมากคิดว่ายังไม่สำคัญ คิดว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดไม่น่าจะตายเร็วๆ นี้ เป็นหัวข้อที่ไม่สบายใจที่จะเรียนรู้ แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนมากที่สนใจจะเรียนรู้เพราะกำลังหรือเคยเผชิญการดูแลความตายและการสูญเสียมาแล้ว คนเหล่านี้อาจตระหนักว่าการเรียนรู้เรื่องการดูแลการตายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น และไม่ว่าอย่างไรเราทุกคนย่อมต้องใช้ความรู้วิชาความตายในสักวัน ไม่ว่าเราจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม คำถามคือ ในหากเราทำงานเกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ เราจะออกแบบการเรียนรู้เรื่องการอยู่ดี ตายดีอย่างไรให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย บรรลุวัตถุประสงค์ ภายใต้เงื่อนไขของกลุ่มเป้าหมาย เวลา โอกาส ทรัพยากร และสถานที่ที่มีอยู่ บทความนี้นำเสนอแนวทางการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ที่ครูอ้อ หทัยรัตน์ สุดา ได้แนะนำไว้ในงานอบรมหลักสูตรการออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับกระบวนกรชุมชนกรุณา ที่บ้านไม้หอม พระราม 2 วันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2565 …

แนวทางการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอยู่และตายดีแบบ Active Learning Read More »

“เยียวยาใจและชุมชน” คำขวัญรณรงค์ World Hospice and Palliative Care Day 2022

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะเขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2565 ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา องค์กร World Hospice and Palliative Care Alliance ได้เสนอหัวข้อวันฮอสพิซและการดูแลแบบประคับประคองโลกซึ่งจะมีขึ้นในเดือนตุลาคมของทุกปี สำหรับปีนี้ เสนอคำขวัญว่า Healing hearts & Communities (เยียวยาใจและชุมชน) รณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการดูแลความโศกเศร้าจากความสูญเสียและการดูแลแบบประคับประคอง เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยลดความทุกข์จากความสูญเสีย ประเด็นรณรงค์ เราไม่เคยเดียวดาย: มนุษย์ต่างเป็นเพื่อนร่วมประสบการณ์ความสูญเสีย Never alone: United in Grief and humanityเราทุกคนต่างเคยประสบความสูญเสียน้อยใหญ่ สิ่งที่ช่วยให้เราผ่านความโศกเศร้าและสูญเสียได้และมีวุฒิภาวะมากขึ้นคือการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน วันดูแลแบบประคับประคองโลกปีนี้ขอเชิญชวนให้เราแบ่งปันเรื่องราวการดูแลความสูญเสียตามแนวทางชุมชนกรุณา เพื่อฟื้นคืนความหวังและการเยียวยา ให้เกียรติชีวิตและความโศกเศร้า ด้วยการลงทุนสนับสนุนการดูแลความสูญเสียโดยมีชุมชนเป็นฐาน Honoring life and grief through investment in community-based bereavement supportการสนับสนุนผู้สูญเสียด้วยใจกรุณาจะช่วยฟื้นหัวใจความเป็นมนุษย์ ทั้งต่อผู้สูญเสียและผู้ให้ความช่วยเหลือ การดูแลแบบประคับประคองคือแนวทางดูแลที่ช่วยสนับสนุนผู้ป่วยให้ผ่านความโศกเศร้าและสูญเสีย มีส่วนช่วยป้องกันและบรรเทาปัญหาสุขภาพกายและจิต ทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแล และครอบครัว …

“เยียวยาใจและชุมชน” คำขวัญรณรงค์ World Hospice and Palliative Care Day 2022 Read More »

ผู้เชื่อมต่อสุขภาพ Health Connector Mendip

ในประเทศอังกฤษ และอีกหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้ระบบสุขภาพภาครัฐจะครอบคลุมการดูแลความเจ็บป่วยของประชาชนทุกคน แต่ก็ยังมีผู้เผชิญความปัญหาสุขภาพทางกายและจิตจำนวนหนึ่งก็ยังคง “ไม่รู้” ช่องทางและวิธีการที่จะเข้าถึงการรับบริการสุขภาพในระบบ ทำให้พลาดโอกาสในการป้องกันส่งเสริมสุขภาพ และได้รับบริการตามสิทธิ์ที่พึงมี โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบาง ประชาชนที่มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่คนเดียว เป็นต้น วิธีการแก้ปัญหาหนึ่งแบบชุมชนกรุณา คือการพัฒนา “ผู้เชื่อมต่อสุขภาพ” ในชุมชน ซึ่งจะช่วยเผยแพร่ความรู้ สนับสนุนให้เพื่อนร่วมชุมชนเข้าถึงและรับบริการสุขภาพตามระบบสวัสดิการสังคมและสุขภาพที่มีอยู่ ฟังดูไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร สังคมไทยก็มีคนที่ทำหน้าที่นี้อยู่ ก็คือ อสม. หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนั่นเอง  อย่างไรก็ตาม Health Connectors Medip ประเทศอังกฤษ เรียกคนทำหน้าที่เชื่อมต่อการดูแลสุขภาพว่า Health Connectors หรือผู้เชื่อมต่อสุขภาพ แนวคิดนี้อยู่ในข่ายความคิดเดียวกับงานสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care) ที่สนับสนุนการส่งเสริมป้องกันสุขภาพ ช่วยให้ผู้เผชิญความเจ็บป่วยได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนผู้ต้องการความช่วยเหลือที่ตกสำรวจจากระบบสุขภาพ Health Connectors นี้แหละก็จะช่วยสอดส่องคัดกรองให้เขาได้รับการดูแลตามสมควร โปรแกรมนี้จึงช่วยให้ชุมชนมีทรัพยากรบุคคลช่วยดูแลส่งเสริมสุขภาพ โอกาสที่ผู้ต้องการเข้าถึงการดูแลสุขภาพย่อมมีมากขึ้น และเมื่อ Health Connectors ทำหน้าที่เชื่อมต่อการดูแลในประเด็นการดูแลความตาย และความสูญเสีย โปรแกรมนี้จึงอยู่ในขอบข่ายชุมชนกรุณาด้วย ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโปรแกรม Helath Connectors Mendip …

ผู้เชื่อมต่อสุขภาพ Health Connector Mendip Read More »

ข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีสรุปบทเรียนในการทำงานชุมชนกรุณา

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ2022-6-29 บทความนี้เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการสรุปบทเรียนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่สนับสนุนการอยู่และตายดีในพื้นที่ชุมชนกรุณา เรียบเรียงจากการอบรม Workshop สรุปบทเรียนการทำงานชุมชนกรุณา เพื่อสนับสนุนการอยู่ดี ตายดี วันที่ 17-18 มิถุนายน 2565 ณ บ้านไม้หอม พระราม 2 กรุงเทพ วิทยากรโดย คุณหทัยรัตน์ สุดา หรือครูอ้อ แห่งห้องสมุดผีเสื้อ จ.ศรีสะเกษ กับกระบวนกรชุมชนทั้ง 18 คน จากพื้นที่ปฏิบัติการชุมชนกรุณาหลากพื้นที่ ทำไมต้องสรุปบทเรียนชุมชนกรุณา การทำงานชุมชนกรุณา เช่นเดียวกับงานพัฒนาสังคมอื่นๆ ที่คนทำงานอยากเห็นการทำงานของตนเองพัฒนาขึ้น ทำน้อยแต่ได้มาก ตอกย้ำว่างานของเราสามารถแก้ไขปัญหาได้ บรรลุเป้าหมายของงาน จะบรรลุสิ่งเหล่านี้ กลไกสำคัญหนึ่งในการพัฒนางานและตนเองก็คือการสรุปบทเรียน การไม่สรุปบทเรียน ทำให้เราเจอความผิดพลาดซ้ำๆ อุปสรรคที่มีอยู่ก็อาจจะคงอยู่อย่างนั้น สิ่งคาดหวังยังดูเหมือนห่างไกล แน่นอนว่าการสรุปบทเรียนเป็นสิ่งสำคัญ​ แต่จะทำอย่างไรให้บทเรียนที่สรุปได้ไม่เป็นเพียงงานเอกสาร แต่แผ่ซึมเป็นประสบการณ์ในใจ เปลี่ยนแปลงกรอบคิดหรือวิธีทำงานที่ถูกทิศทางมากขึ้น ขณะเดียวกัน คนทำงานก็ได้พัฒนาตนเอง มีชีวิตชีวา เวิร์คชอปที่ครูอ้อนำการเรียนรู้ได้นำเสนอสิ่งนี้ การสรุปบทเรียน ต้องสร้างสมดุลระหว่าง บทเรียน กับ การเสริมพลังอำนาจผู้ร่วมสรุปบทเรียน …

ข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีสรุปบทเรียนในการทำงานชุมชนกรุณา Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา