บทบาทขององค์กรชุมชนกรุณา/เมืองกรุณา ในการสนับสนุนการดูแลความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสีย

เดือนมีนาคม 2567 ผ่านมา ผมได้ตอบแบบสอบถามคณะวิจัยจาก Bern Switzerlands ในแบบสอบถามถามว่าองค์กร/กลุ่มที่ทำงานชุมชนกรุณาในเมืองต่างๆ ทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับหน้างานต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ ตอบแล้วก็คิดว่าภาคีเครือข่ายคนทำงานสนับสนุนการอยู่ดีตายดีในประเทศไทยเองก็ทำงานหลายอย่างที่ตรงกัน จึงเขียนรายการกิจกรรม/ งาน ที่อยู่ในขอบเขตของงานชุมชนกรุณา (Compassinate Communities) ดังนี้

ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยยังรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์อยู่ครับ ว่ากิจกรรมร่วมขององค์กรในประเทศต่างๆ ที่กำลังขับเคลื่อนชุมชนกรุณาอยู่ ทำอะไรเป็นส่วนใหญ่ อะไรสำคัญมาก อะไรสำคัญน้อย

รายการกิจกรรมมีดังนี้ครับ

งานผลักดันนโยบาย

1. เป็นสะพานทำงานร่วมระหว่างรัฐและภาคประชาสังคม เติมเต็มนโยบายสาธารณะ

2. ตอบโจทย์ความท้าทายด้านประชากรและสังคมในปัจจุบัน

3. ให้ความสำคัญกับความเคลื่อนไหวของพลเมือง เตือนให้ระลึกถึงคนที่มักถูกลืม ส่งเสียงความต้องการของประชากรกลุ่มต่างๆ

4. พัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชนกรุณา

5. สร้างแรงกระเพื่อมต่อนโยบายสาธารณะ (รวมทั้งนโยบายองค์กร) ติดตามผลกระทบนโยบาย

6. สร้างการรับรู้การดำรง/มีอยู่ของงานชุมชนกรุณา ทำเนื้อหาข้อมูล จัดงานฝึกอบรมให้ประชาชนกลุ่มใหญ่เข้าใจและเข้าถึงชุมชนกรุณาเพิ่มขึ้น

7. พัฒนาความเท่าเทียมทางเพศในงานดูแล ให้แน่ใจว่าการดูแลไม่ใช่งานเฉพาะของผู้หญิงเท่านั้น

งานสร้างความตระหนักและความพร้อมของชุมชน

8. ช่วยให้ผู้คนคุ้นเคย ไม่แปลกแยกกับกับประเด็นการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การตาย ผ่านการให้ข้อมูล การสร้างบทสนทนา และประสบการณ์

9. ประคองกระแสความตระหนักอย่างต่อเนื่อง เพื่อว่าเมื่อถึงวันหนึ่ง ผู้คนจะได้รู้ว่าเมื่อต้องการเนื้อหาที่เพิ่มขึ้น จะหาได้จากที่ไหน

10. สนับสนุนให้ผู้คน ไตร่ตรองสะท้อนคิดเกี่ยวกับชีวิตในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อเราแก่ ป่วย และตาย 

11. สร้างความตระหนักถึงการดูแลแบบประคับประคองแต่เนิ่นๆ

12. สร้างความตระหนักเกี่ยวกับประเด็นการดูแล ความเจ็บป่วย การตาย ความตาย ผ่านศิลปะ

สร้างการมีส่วนร่วมชุมชน สร้างเครือข่ายชุมชน สนับสนุนด้านสังคม

13. ลดความโดดเดี่ยว สร้างความรู้สึกว่าแต่ละคนไม่ได้โดดเดี่ยว หากต้องการใครสักคน เขามีชุมชนและเครือข่ายสนับสนุนเสมอ

14. อำนวยการให้เกิดความร่วมมือ การสร้างสรรค์เครือข่ายสนับสนุนการดูแล ทั้งในท้องถิ่นและระดับเมือง ระบุและให้ข้อมูลเครือข่ายสนับสนุนที่มีอยู่แล้ว

15. สนับสนุนมาตรการทางเศรษฐกิจแห่งความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ช่วยลดภาระทางการเงินให้กับกิจกรรมการดูแล

16. สร้างแรงจูงใจให้ชุมชนกรุณาที่เกิดขึ้นแล้ว ดำรงกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน

17. พัฒนาพื้นที่ เครื่องมือที่สนับสนุนการสนทนาเกี่ยวกับความโศกเศร้าเปิดกว้าง เป็นธรรมดา ไม่ทำให้ความโศกเป็นเรื่องซับซ้อนที่ต้องใช้ความรู้ขั้นสูงในการบำบัด

18. เปิดพื้นที่ทางสังคมระดมความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างสรรค์ร่วมกัน สร้างแรงยึดโยงทางสังคมที่เข้มแข็ง

19. ช่วยชุมชนเพื่อนบ้านได้พูดคุยกัน รู้จักกัน ให้ความช่วยเหลือกันได้เมื่อสมาชิกต้องการ

20. สร้างความรู้สึกว่าสมาชิกในชุมชนเป็นตัวแทนของ เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนกรุณา ให้คุณค่ากับเครือข่ายชุมชนกรุณา

21. ทำให้ผู้ดูแล ความต้องการของผู้ดูแล และงานดูแล เป็นที่มองเห็น ถูกรับรู้ ได้รับความสำคัญเร่งด่วน เพิ่มโอกาสให้ผู้ดูแลได้รับการฝึกอบรมและได้รับการสนับสนุน

22. สนับสนุนให้ผู้ดูแลได้รับความช่วยเหลือจากทางการ ช่วยงานด้านเอกสาร ธุรการ

งานเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและทัศนคติ

23. เปลี่ยนแปลง พัฒนาวัฒนธรรมภูมิภาค/ท้องถิ่น ให้เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วย กลุ่มเปราะบาง และการตาย

24. สนับสนุนการเติบโตส่วนบุคคลและชุมชน แปรเปลี่ยนสังคมให้ใจดี ดูแล และมีกรุณาต่อกันมากขึ้นในชีวิตประจำวัน

25. สอดแทรกสำนึกความรับผิดชอบร่วมของสังคมในการดูแลกันและกัน โดยเฉพาะในชีวิตช่วงท้าย

26. ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้ดูแล ว่าพวกเขาสามารถรับความช่วยเหลือจากภาคทางการ ในยามที่ความทุกข์และความยากลำบากเกินมือ

27. เสาะแสวงหาและตระหนักถึงภูมิปัญญาของท้องถิ่นและบรรพชน เรียนรู้และต้อนรับ

งานพัฒนาสุขภาพและระบบสุขภาพ

28. สร้างความตระหนักความทุกข์ของผู้ดูแล และเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลผู้ดูแล

29. ลดการใช้โรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น

30. ช่วยให้ผู้คนพบความหมายของชีวิต

31. ช่วยลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยและผู้ดูแล

32. พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล ด้วยการรับฟัง เคารพศักดิ์ศรี สนับสนุน และระบุความต้องการของพวกเขา

33. ช่วยให้โรงพยาบาลเป็นสถานที่เปิด ต้อนรับประชาชนมากขึ้น

34. ให้ความสนับสนุนด้านจิตวิญญาณ

35. สร้างเสริมการดูแลที่บ้าน ลดการเข้าใช้บริการในโรงพยาบาล โดยเฉพาะ ER, ICU เพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น

36. สนับสนุนเครือข่ายสังคมที่กระทบต่อการตายที่บ้านและบริการดูแลแบบประคับประคอง

37. สนับสนุนนักวิชาชีพด้านสุขภาพ ถมช่องว่างในระบบบริการและนิเวศสุขภาพ

งานเตรียมข้อมูลและทรัพยากรให้เข้าถึงได้

38. สนับสนุนการเข้าถึงธนาคารอุปกรณ์

39. ระบุความต้องการของแต่ละท้องถิ่น เสนอทางเลือกในการตอบสนองต่อโจทย์สุขภาพโดยคำนึงถึงบริบทพื้นที่

40. ชี้เป้าอาสาสมัคร (โดยเฉพาะ CG) ที่มีเวลาและมีทรัพยากรในการสนับสนุนการดูแล

41. เสนอความช่วยเหลือด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ให้ความรู้สิทธิ์ของผู้ดูแล

42. เตรียมข้อมูลส่วนกลางเกี่ยวกับสถาบันสังคมที่ให้ความช่วยเหลือและตอบสนองความต้องการของแต่ละกลุ่มประชากร

งานสร้างความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นและสถาบัน

43. บูรณาการศาสตร์ต่างๆ รวมทั้งภาคประชาสังคม ให้บรรลุเป้าหมายความร่วมมือ

44. ช่วยให้สถาบันให้ความช่วยเหลือต่างๆ มีความเข้มแข็ง เป็นภาคีเครือข่ายกัน เป็นพันธมิตรกันแม้จะมีเป้าประสงค์และผลประโยชน์ต่างกัน

งานฝึกอบรมและให้ความรู้

45. ให้การฝึกอบรมชุมชนคนทำงานเด็ก วัยรุ่น ผู้ดูแล ผู้ป่วย และบุคลากรสุขภาพ ให้มีทักษะการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การดูแลความโศกเศร้า มีกรุณา เพื่อที่ว่าเมื่อต้องใช้ทักษะเหล่านี้ เขาสามารถทำได้ด้วยตนเองทันที

46. ตระเตรียมเครื่องมือและการสนับสนุนผู้ป่วยตามภาวะเงื่อนไขและภาวะการพึ่งพิง

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา