Blog

บทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ ในการพัฒนาระบบชีวาภิบาล

ทำไม สสจ./ สสอ.จึงมีความสำคัญกับระบบชีวาภิบาล ระบบชีวาภิบาล คือการเชื่อมโยงระบบบริการระหว่างโรงพยาบาลทุกระดับ จนถึง ชุมชน  เพื่อเป้าหมายในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และผู้ป่วยระยะประคับประคอง งานอภิบาลระบบ หรือการพัฒนาระบบ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ในงานนี้เจ้าหน้าที่สาธาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ เป็นผู้เล่นและพันธมิตรสำคัญในการขับเคลื่อนระบบ ความท้าทายงานชีวาภิบาล 1. การพัฒนาบุคลากรทั้งภายในองค์กรกระทรวงสาธารณสุขให้เกิดความรู้ความเข้าใจในระบบชีวาภิบาล 2. การสร้างความยั่งยืน โดยให้หน่วยงานอื่น/หน่วยงานภาคีเครือข่าย ( ชุมชน ท้องถิ่น หน่วยบริการสุขภาพทั้งเอกชนและรัฐบาล) เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบระบบบริการ ให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่หน่วยโดยการวางเป้าหมายร่วม ตามภารกิจของหน่วยงานนั้น 3. การจัดการข้อมูล ตามกลุ่มเป้าหมาย (Data Center) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา วางแผนยุทธศาสตร์และออกแบบระบบบริการให้สอดคล้องกับบริบท 4. การส่งเสริมให้ประชาชน มีความรอบรู้ ด้านสุขภาพ เพื่อการดูแลตนเอง การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และผู้ป่วยระยะประคับประคอง บทบาทหน้าที่ สสจ.สสอ. ในงานชีวาภิบาล 1. ศึกษานโยบาย เป้าหมาย กระบวนการทำงาน ด้านการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และระยะประคับประคอง ระดับประเทศ และเขตสุขภาพพื้นที่  2. …

บทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ ในการพัฒนาระบบชีวาภิบาล Read More »

มุมมองทางเศรษฐศาสตร์กับแนวทางการดูแลแบบประคับประคอง PHPC Group Read EP6

บันทึกการกิจกรรมอ่านกลุ่ม มุมมองทางเศรษฐศาสตร์กับแนวทางการดูแลแบบประคับประคอง PHPC Group Read EP5 ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ช่วยอธิบาย ทำความเข้าใจพฤติกรรมสุขภาพของแต่ละบุคคล ส่วนในทางนโยบาย มุมมองทางเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญในการตัดสินใจพัฒนาและเลือกนโยบายสุขภาพในระดับประชากร เศรษฐศาสตร์สุขภาพมีแนวคิดว่า สังคมมีทรัพยากรในการดูแลสุขภาพจำกัด เพื่อตอบสนอความต้องการของสุขภาพที่ไม่จำกัด ดังนั้น จึงต้องเลือกวิธีการดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการสุขภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนจำนวนมากที่สุด เศรษฐศาสตร์สุขภาพแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์ทั่วไป เพราะสินค้าสุขภาพแตกต่างจากสินค้าทั่วไป กลไกการตลาดอาจใช่ไม่ได้กับสินค้าด้านสุขภาพ เพราะสินค้าสุขภาพมีความซับซ้อนสูง ประชาชนมีข้อมูลจำกัดในการตัดสินใจซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพบางตัวก็ต้องซื้อโดยรัฐ เช่น วัคซีนที่ต้องพัฒนาความร่วมมือกับนานาชาติ การแทรกแซงสุขภาพบางอย่างก็ใช้ต้นทุนการผลิตสูงและไม่ให้ผลตอบแทนในทันที เช่น กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนั้น รัฐ ในฐานะที่เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าสุขภาพมากกว่า และรัฐมีหน้าที่คุ้มครองสุขภาพของประชาชน จึงจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซงตลาด ด้วยการสนับสนุนงบประมาณในผลิตภัณฑ์หรือบริการสุขภาพที่ให้ความคุ้มค่า ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี ความท้าทายในการใช้มุมมองทางเศรษฐศาสตร์ต่อการวางแผนด้านสาธารณสุข แม้มุมมองทางเศรษฐศาสตร์จะมีความจำเป็นต่อการพัฒนานโยบายสุขภาพ แต่ก็มีความท้าทายหลายประการ การเก็บข้อมูลค่าใช้จ่าย มีการเก็บอย่างเข้มข้นและเป็นระบบในระบบบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) แต่มุมมองการดูแลสุขภาพในปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไปอยู่ครอบครัวและชุมชนมากขึ้น ซึ่งไม่มีการเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายที่เป็นระบบและครบถ้วนมากนัก ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ไม่มีข้อมูลค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนด้านสุขภาพที่ครบถ้วนสำหรับการวางแผนนโยบายสุขภาพ วัฒนธรรมการวางแผนนโยบายที่ไม่ได้มาจากหลักฐานเชิงประจักษ์​ แต่มาจากความคิดความเชื่อของผู้บริหาร และเจตนารมย์ทางการเมืองที่ไม่ได้อยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ ความขาดแคลนนักเศรษฐศาสตร์สุขภาพ และมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ในการตัดสินใจนโยบายโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น ข้อมูลป้อนกลับ หรือผลลัพธ์ด้านสุขภาพจากการวางแผนนโยบายมักใช้เวลายาวนานกว่าจะเห็นผล …

มุมมองทางเศรษฐศาสตร์กับแนวทางการดูแลแบบประคับประคอง PHPC Group Read EP6 Read More »

การใช้เครื่องมือปฏิบัติการชุมชนกรุณา บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP5 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ เสาร์ที่ 29 มิ.ย. 67 กลุ่ม Group Read ชวนอ่านบทความจากตำรา Public Health Palliative Care หัวข้อ Using and building toolkits to support community action บทความนี้พูดถึงการสร้างและใช้เครื่องมือสนับสนุนปฏิบัติการชุมชน จากหลากหลายประเทศ ถอดบทเรียนประเด็นสำคัญของชุดเครื่องมือของประเทศต่างๆ ให้ผู้อ่านได้นำไปพัฒนาแนวทางการทำเครื่องมือสนับสนุนงานชุมชนกรุณาในพื้นที่/ประเด็นของตนเอง อะไรคือเครื่องมือ? ชุดเครื่องมือการทำงาน คือตัวกลาง/สื่อกลาง ระหว่าง แนวคิด/ทฤษฎี/เนื้อหาความรู้ กับปฏิบัติการในโลกแห่งความเป็นจริง ช่องว่างระหว่างโลกทฤษฎีกับปฏิบัตินั้นกว้างขวาง เพราะคนทำงานส่วนใหญ่ไม่ใช่นักทฤษฎี อาจะไม่ได้อ่านงานวิชาการต้นฉบับ จึงต้องการตัวช่วยหรือเครื่องมือทำงาน เพื่อให้โลกความเป็นจริงเข้าใกล้สิ่งที่ควรจะเป็นตามแนวคิดทฤษฎี ตัวอย่างเช่น โจทย์ = ทำอย่างไรให้นักสาธารณสุขเข้าใจสุขภาพชุมชนแนวคิด = การเข้าใจสุขภาพชุมชน ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ชุมชน เข้าใจภูมิประเทศของชุมชนที่ส่งผลต่อสุขภาพ ฯลฯโลกความจริง = ชุมชนแห่งหนึ่งเครื่องมือ = เครื่องมือ 7 ชิ้น โจทย์ …

การใช้เครื่องมือปฏิบัติการชุมชนกรุณา บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP5 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care Read More »

นิเวศการเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การตาย และความสูญเสีย: ข้อเสนอเชิงโยบาย

ความรู้ทักษะที่ช่วยให้บุคคลๆ หนึ่ง สามารถดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการตายดีสำหรับดูแลตนเองและคนรอบข้าง ไม่อาจเกิดขึ้นจากสุญญากาศ แต่จำเป็นต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนการเรียนรู้ เพื่อให้บุคคลๆ หนึ่ง มีความรู้เท่าทันการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย (End of Life Literacy) ผู้เขียนขอใช้แนวคิดวงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care) มาปรับเป็นวงล้อมแห่งการเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การตาย และความสูญเสีย (Circles of End of Life care Learning) โดยแต่ละระดับชั้นการเรียนรู้มีดังนี้ 1) การเรียนรู้ภายในตัวบุคคล (Self Learning Level) บุคคลเรียนรู้การดูแลความเจ็บป่วย ความตาย และความสูญเสีย จากประสบการณ์ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ของตัวเอง (ประสบการณ์เฉียดตาย ประสบการณ์เจ็บป่วย และประสบการณ์สูญเสีย) 2) การเรียนรู้จากบุคคลใกล้ชิด (Inner Network Learning) คือการเรียนรู้จากการสัมผัส พบเห็น และดูแลคนใกล้ชิด การเรียนรู้จากการสั่งสอนอบรม เรื่องเล่า จากคนใกล้ชิด การเรียนรู้จากการสังเกตการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการดูแลการตาย 3) การเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อน (Outer …

นิเวศการเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การตาย และความสูญเสีย: ข้อเสนอเชิงโยบาย Read More »

การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลแบบประคับประคอง บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP3 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care

ด้วยเหตุที่ผู้ป่วยด้วยโรคคุกคามชีวิตทุกคนควรเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง แต่ประชาชนจำนวนมากยังไม่รู้จักแนวทางนี้ สังคมจึงจำเป็นต้องใช้กระบวนวิธี “การสร้างเสริมสุขภาพ” มาร่วมผลักดันการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อให้การตายดีเข้าถึงได้ในระดับประชากร ประเด็นสำคัญในบทความ การดูแลแบบประคับประคอง เกิดขึ้นในบริบทของการให้บริการสุขภาพ (Service Delivery) ในโรงพยาบาลหรือสถานดูแลผู่ป่วยระยะท้าย แต่เมื่อบุคลากรเห็นข้อจำกัดของระบบบริการสุขภาพ กำลังคน งบประมาณ และบริบทการดูแล จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้ประชาชนเรียนรู้แนวทาง และมีทักษะการดูแลชีวิตช่วงท้ายและการตายของตนเอง รวมทั้งการสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจแนวทางการดูแลแบบประคับประคองแต่เนิ่นๆ ในแง่นี้ รัฐบาลท้องถิ่นและระดับชาติ จึงควรพิจารณาใช้การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) มาร่วมกับการขยายการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ ได้รับการรับรองและสนับสนุนโดยสมัขชาสุขภาพองค์การอนามัยโลก ผ่านกฎบัตรอัตตาวา (Ottawa Chartoer for Health Promotion) ปี 1988 ซึ่งหลายประเทศรวมทั้งไทย นำมาใช้เป็นแนวทางสร้างเสริมสุขภาพ ดังการทำงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขบวนการสร้างชุมชนสุขภาวะ รวมทั้งเครือข่ายชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน (Strengthen Community Action) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal Skill) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ …

การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลแบบประคับประคอง บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP3 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care Read More »

การผลักดันนโยบาย Palliative Care บันทึกสรุปจากกิจกรรม Group Read EP2 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care

บันทึกโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ เมื่อทุกคนจำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตช่วงท้ายที่ดีและจากไปอย่างสงบ ทั่วถึงและเท่าเทียม การผลักดันนโยบายให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐจึงจำเป็น ประเด็นสำคัญในบทความ การพัฒนาบริการการดูแลแบบประคับประคองให้ครอบคลุมนั้น ต้องอาศัยอำนาจรัฐช่วยผสานการดูแลแบบประคับประคองเข้าสู่ระบบสุขภาพทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับปฐมภูมิ เนื่องจากการดูแลนี้เชื่อมโยงกับการใช้ยาบรรเทาปวดที่มีฤทธิ์เสพติด และการดูแลแบบประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงท้ายและตายอย่างสงบ เป็นสิทธิมนุษยชน เอกชนและชุมชนยังไม่สามารถให้บริการนี้ด้วยตนเองได้อย่างครอบคลุม บทความนี้ย้ำหลายครั้งว่า การดูแลแบบประคับประคองเป็นสิทธิ์พื้นฐาน (Rights) ไม่ใช่สิทธิ์พิเศษ (Priviledge) อุปสรรคสำคัญของการผลักดันงานดูแลแบบประคับประคอง คือ การรักษาดูแลสุขภาพกระแสหลัก ยังมุ่งการรักษาและผลกำไร มากกว่า ระบบสุขภาพที่ให้บริการอย่างเท่าเทียมต่อความต้องการที่ถูกละเลยมากที่สุด (การรักษาสำคัญกว่าการดูแล ซึ่งเป็นงานระยะยาว อยู่ในมือของชาวบ้าน และไม่ทำกำไร – ผู้บันทึก) บทความนี้เสนอหลักปฏิบัติในการผลักดันนโยบาย 5 ประการ ได้แก่ หลักเอกภาพ (Solidarity) หลักการมีส่วนร่วม (Participatory) หลักสิทธิ์และหน้าที่ (Rights and responsibilities) หลักกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น (Subsediarity) หลักความใกล้ชิด (Proximity) หลักเอกภาพ (Solidarity)  ให้ความสำคัญกับการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เสาะแสวงหาว่าใครตกหล่นจากการดูแลคุณภาพชีวิตช่วงท้าย เสริมสร้างพลังอำนาจให้คนที่เข้าไม่ถึงบริการ สามารถส่งเสียงความต้องการ ได้รับการมองเห็น …

การผลักดันนโยบาย Palliative Care บันทึกสรุปจากกิจกรรม Group Read EP2 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care Read More »

บทบาทขององค์กรชุมชนกรุณา/เมืองกรุณา ในการสนับสนุนการดูแลความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสีย

เดือนมีนาคม 2567 ผ่านมา ผมได้ตอบแบบสอบถามคณะวิจัยจาก Bern Switzerlands ในแบบสอบถามถามว่าองค์กร/กลุ่มที่ทำงานชุมชนกรุณาในเมืองต่างๆ ทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับหน้างานต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ ตอบแล้วก็คิดว่าภาคีเครือข่ายคนทำงานสนับสนุนการอยู่ดีตายดีในประเทศไทยเองก็ทำงานหลายอย่างที่ตรงกัน จึงเขียนรายการกิจกรรม/ งาน ที่อยู่ในขอบเขตของงานชุมชนกรุณา (Compassinate Communities) ดังนี้ ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยยังรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์อยู่ครับ ว่ากิจกรรมร่วมขององค์กรในประเทศต่างๆ ที่กำลังขับเคลื่อนชุมชนกรุณาอยู่ ทำอะไรเป็นส่วนใหญ่ อะไรสำคัญมาก อะไรสำคัญน้อย รายการกิจกรรมมีดังนี้ครับ งานผลักดันนโยบาย 1. เป็นสะพานทำงานร่วมระหว่างรัฐและภาคประชาสังคม เติมเต็มนโยบายสาธารณะ 2. ตอบโจทย์ความท้าทายด้านประชากรและสังคมในปัจจุบัน 3. ให้ความสำคัญกับความเคลื่อนไหวของพลเมือง เตือนให้ระลึกถึงคนที่มักถูกลืม ส่งเสียงความต้องการของประชากรกลุ่มต่างๆ 4. พัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชนกรุณา 5. สร้างแรงกระเพื่อมต่อนโยบายสาธารณะ (รวมทั้งนโยบายองค์กร) ติดตามผลกระทบนโยบาย 6. สร้างการรับรู้การดำรง/มีอยู่ของงานชุมชนกรุณา ทำเนื้อหาข้อมูล จัดงานฝึกอบรมให้ประชาชนกลุ่มใหญ่เข้าใจและเข้าถึงชุมชนกรุณาเพิ่มขึ้น 7. พัฒนาความเท่าเทียมทางเพศในงานดูแล ให้แน่ใจว่าการดูแลไม่ใช่งานเฉพาะของผู้หญิงเท่านั้น งานสร้างความตระหนักและความพร้อมของชุมชน 8. ช่วยให้ผู้คนคุ้นเคย ไม่แปลกแยกกับกับประเด็นการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การตาย ผ่านการให้ข้อมูล การสร้างบทสนทนา และประสบการณ์ …

บทบาทขององค์กรชุมชนกรุณา/เมืองกรุณา ในการสนับสนุนการดูแลความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสีย Read More »

The Soul of Care: Book Review

The Soul of Care: The Moral Education of a Doctor Arthur Kleinman จัดพิมพ์ในชื่อภาษาไทยว่า วิญญาณของการดูแล การบ่มเพาะทางศีลธรรมของแพทย์คนหนึ่ง อาร์เธอร์ ไคลน์แมน หนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องราวอัตชีวประวัติของอาร์เธอร์ ไคลน์แมน จิตแพทย์และนักมานุษยวิทยาการแพทย์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนเล่าชีวประวัติควบคู่ไปกับประวัติการดูแลโจน ไคลน์แมน ภรรยาของผู้เขียนที่ประสบความทุกข์ทรมานจากภาวะสมองเสื่อมในวัย 50 ปี เส้นทางการดูแลเต็มไปด้วยความยากลำบาก หากก็มีส่วนเปลี่ยนแปลงความเป็นมนุษย์ของผู้เขียนอย่างลึกซึ้ง ในระหว่างการดูแล ผู้เขียนบอกเล่าเรื่องราวการดูแลภรรยาจากหลากหลายกลุ่ม ทั้งตัวผู้เขียน ครอบครัว ชุมชน บุคลากรสุขภาพทั่วไปและเชี่ยวชาญ ผู้เขียนเล่าด้วยมุมมองที่หลากหลาย ทั้งจากสายตาของสามีคนหนึ่ง พ่อคนหนึ่ง และนักวิชาการแนวหน้าด้านมานุษยวิทยาการแพทย์ ไม่แปลกที่หนังสือเล่มนี้เสนอข้อวิพากษ์พฤติกรรมการดูแลของแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ที่ถูกครอบงำโดยชุดคุณค่าแบบทุนนิยมและการบริหารจัดการ แทนที่การดูแลด้วยมือ หัวใจ และการอยู่ตรงหน้ากับผู้ป่วย เรื่องเล่าและบทวิเคราะห์การดูแลของผู้เขียนและภรรยาในหนังสือเล่มนี้ สะท้อนให้เห็นข้อจำกัดของระบบบริการสุขภาพในสหรัฐอเมริกา การละเลยไม่ใส่ใจบำรุงระบบการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ความบิดเบี้ยวของระบบการศึกษาแพทย์ และบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพที่ค่อยๆ กัดกร่อนความสามารถและทักษะการดูแลของบุคลากรสุขภาพวิชาชีพ จนผู้ป่วยและครอบครัวรู้สึกว่าสถาบันสุขภาพเหล่านี้ไม่ได้ให้การดูแลในเวลาที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลืออย่างที่สุด ขณะเดียวกัน The Soul of …

The Soul of Care: Book Review Read More »

แนวทางการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอยู่และตายดีแบบ Active Learning

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ2022-7-14 การเรียนรู้ความตาย หรือ Death Education เป็นหนึ่งในแนวทางการส่งเสริมป้องกันสุขภาพ (Health Promotion and Prevention Approach) ที่ช่วยสนับสนุนคุณภาพชีวิตช่วงท้ายและการตายดีที่ให้ผลที่คุ้มค่า ประชาชนที่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ย่อมมีแนวทางในการดูแลตัวเอง สามารถเลือกและตัดสินใจการดูแลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว มีโอกาสจะเข้าถึงการตายดีได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม การจัดกระบวนการเรียนรู้สนับสนุนการอยู่และตายดี ก็เป็นเรื่องท้าทาย เพราะความตายเป็นเรื่องสิ่งที่คนจำนวนมากคิดว่ายังไม่สำคัญ คิดว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดไม่น่าจะตายเร็วๆ นี้ เป็นหัวข้อที่ไม่สบายใจที่จะเรียนรู้ แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนมากที่สนใจจะเรียนรู้เพราะกำลังหรือเคยเผชิญการดูแลความตายและการสูญเสียมาแล้ว คนเหล่านี้อาจตระหนักว่าการเรียนรู้เรื่องการดูแลการตายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น และไม่ว่าอย่างไรเราทุกคนย่อมต้องใช้ความรู้วิชาความตายในสักวัน ไม่ว่าเราจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม คำถามคือ ในหากเราทำงานเกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ เราจะออกแบบการเรียนรู้เรื่องการอยู่ดี ตายดีอย่างไรให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย บรรลุวัตถุประสงค์ ภายใต้เงื่อนไขของกลุ่มเป้าหมาย เวลา โอกาส ทรัพยากร และสถานที่ที่มีอยู่ บทความนี้นำเสนอแนวทางการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ที่ครูอ้อ หทัยรัตน์ สุดา ได้แนะนำไว้ในงานอบรมหลักสูตรการออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับกระบวนกรชุมชนกรุณา ที่บ้านไม้หอม พระราม 2 วันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2565 …

แนวทางการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอยู่และตายดีแบบ Active Learning Read More »

“เยียวยาใจและชุมชน” คำขวัญรณรงค์ World Hospice and Palliative Care Day 2022

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะเขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2565 ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา องค์กร World Hospice and Palliative Care Alliance ได้เสนอหัวข้อวันฮอสพิซและการดูแลแบบประคับประคองโลกซึ่งจะมีขึ้นในเดือนตุลาคมของทุกปี สำหรับปีนี้ เสนอคำขวัญว่า Healing hearts & Communities (เยียวยาใจและชุมชน) รณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการดูแลความโศกเศร้าจากความสูญเสียและการดูแลแบบประคับประคอง เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยลดความทุกข์จากความสูญเสีย ประเด็นรณรงค์ เราไม่เคยเดียวดาย: มนุษย์ต่างเป็นเพื่อนร่วมประสบการณ์ความสูญเสีย Never alone: United in Grief and humanityเราทุกคนต่างเคยประสบความสูญเสียน้อยใหญ่ สิ่งที่ช่วยให้เราผ่านความโศกเศร้าและสูญเสียได้และมีวุฒิภาวะมากขึ้นคือการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน วันดูแลแบบประคับประคองโลกปีนี้ขอเชิญชวนให้เราแบ่งปันเรื่องราวการดูแลความสูญเสียตามแนวทางชุมชนกรุณา เพื่อฟื้นคืนความหวังและการเยียวยา ให้เกียรติชีวิตและความโศกเศร้า ด้วยการลงทุนสนับสนุนการดูแลความสูญเสียโดยมีชุมชนเป็นฐาน Honoring life and grief through investment in community-based bereavement supportการสนับสนุนผู้สูญเสียด้วยใจกรุณาจะช่วยฟื้นหัวใจความเป็นมนุษย์ ทั้งต่อผู้สูญเสียและผู้ให้ความช่วยเหลือ การดูแลแบบประคับประคองคือแนวทางดูแลที่ช่วยสนับสนุนผู้ป่วยให้ผ่านความโศกเศร้าและสูญเสีย มีส่วนช่วยป้องกันและบรรเทาปัญหาสุขภาพกายและจิต ทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแล และครอบครัว …

“เยียวยาใจและชุมชน” คำขวัญรณรงค์ World Hospice and Palliative Care Day 2022 Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา