ฝึกอบรม

เจรจาสร้างความร่วมมือการพัฒนาชุมชนกรุณาด้วยหลักการ K.I.S.S. (Keep It Short and Simple)

การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการอยู่และตายดีตามแนวคิดชุมชนกรุณา ไม่สามารถทำโดยลำพัง ทักษะการสร้างความร่วมมือกับผู้นำจากพันธมิตรจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อระดมคน กำลัง และทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในชุมชน มาเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการตายดีมากขึ้น บทความนี้นำเสนอเทคนิคการสนทนาเพื่อเสนอความร่วมมือกับคนที่เราอยากร่วมงานด้วย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่หวังผลการเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการพูดที่สั้น กระชับ เรียบง่าย (Keep It Short and Simple หรือ K.I.S.S.) แต่ได้ผล สรุปเนื้อหาจากงานอบรมหลักสูตรการออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับกระบวนกรชุมชนกรุณา ที่บ้านไม้หอม พระราม 2 วันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2565 สอนโดย ครูอ้อ หทัยรัตน์ สุดา ทำไมต้อง K.I.S.S. ปัญหาหนึ่งของการเจรจาสร้างความร่วมมือที่พบบ่อยๆ ของผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมักสื่อสารเนื้อหาการทำงานที่มากและนานเกินไปในการเสนองาน ไม่น่าสนใจ จนผู้ที่เราอยากจะขอความร่วมมือจับใจความสำคัญไม่ได้ เป็นนามธรรม สิ่งที่เสนออาจจะยากเกินไปในการร่วมงานด้วย ทำให้พลาดโอกาสที่จะสร้างความร่วมมือ สร้างความรู้จักคุ้นเคย พัฒนาความไว้เนื้อเชื่อใจจนเกิดเป็นความร่วมมือระยะยาว การพัฒนาบทเจรจาสร้างความร่วมมือ การขัดเกลาเนื้อหาการเจรจาและประเด็นขอความร่วมมือให้สั้น กระชับ จำได้ เป็นไปได้ และง่ายที่จะร่วมมือด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเปิดประตูโอกาสในการร่วมมือ …

เจรจาสร้างความร่วมมือการพัฒนาชุมชนกรุณาด้วยหลักการ K.I.S.S. (Keep It Short and Simple) Read More »

แนวทางการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอยู่และตายดีแบบ Active Learning

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ2022-7-14 การเรียนรู้ความตาย หรือ Death Education เป็นหนึ่งในแนวทางการส่งเสริมป้องกันสุขภาพ (Health Promotion and Prevention Approach) ที่ช่วยสนับสนุนคุณภาพชีวิตช่วงท้ายและการตายดีที่ให้ผลที่คุ้มค่า ประชาชนที่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ย่อมมีแนวทางในการดูแลตัวเอง สามารถเลือกและตัดสินใจการดูแลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว มีโอกาสจะเข้าถึงการตายดีได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม การจัดกระบวนการเรียนรู้สนับสนุนการอยู่และตายดี ก็เป็นเรื่องท้าทาย เพราะความตายเป็นเรื่องสิ่งที่คนจำนวนมากคิดว่ายังไม่สำคัญ คิดว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดไม่น่าจะตายเร็วๆ นี้ เป็นหัวข้อที่ไม่สบายใจที่จะเรียนรู้ แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนมากที่สนใจจะเรียนรู้เพราะกำลังหรือเคยเผชิญการดูแลความตายและการสูญเสียมาแล้ว คนเหล่านี้อาจตระหนักว่าการเรียนรู้เรื่องการดูแลการตายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น และไม่ว่าอย่างไรเราทุกคนย่อมต้องใช้ความรู้วิชาความตายในสักวัน ไม่ว่าเราจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม คำถามคือ ในหากเราทำงานเกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ เราจะออกแบบการเรียนรู้เรื่องการอยู่ดี ตายดีอย่างไรให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย บรรลุวัตถุประสงค์ ภายใต้เงื่อนไขของกลุ่มเป้าหมาย เวลา โอกาส ทรัพยากร และสถานที่ที่มีอยู่ บทความนี้นำเสนอแนวทางการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ที่ครูอ้อ หทัยรัตน์ สุดา ได้แนะนำไว้ในงานอบรมหลักสูตรการออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับกระบวนกรชุมชนกรุณา ที่บ้านไม้หอม พระราม 2 วันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2565 …

แนวทางการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอยู่และตายดีแบบ Active Learning Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา