ทั่วไป

End of Life Literacy through Public Education บันทึกการสนทนาในกิจกรรม PHPC Group Read ครั้งที่ 1

10 เมษายน 2567 ผู้สนใจงานชีวาภิบาล รวมกลุ่มสนทนาจากการอ่านบทความข้างต้น ใน discord ชีวาภิบาล มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ อะไรคือ End of Life Literacy บทความข้างต้น อยู่ใตำรา Oxford Textbook of Public Health Palliative Care ปี 2022 นำเสนอประเด็นการสาธารณสุขการดูแลแบบประคับประคองที่หลากหลาย โดยเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพงาน Palliative Care ประการหนึ่งคือการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับความตาย ชีวิตช่วงท้าย และโศกเศร้าจากการสูญเสียในประเทศไทยยังไม่กำหนดศัพท์บัญญัติที่ชัดเจน โดยในบทความนี้ใช้คำว่า ความรู้เท่าทันความตาย = Death Literacy (DL) โฟกัสที่การรับมือกับความตายโดยรวม ความรู้เท่าทันความโศก = Grief Literacy (GL) โฟกัสที่การรับมือกับความโศกเศร้าจากการเผชิญความสูญเสีย ทั้งก่อนผู้ป่วยเสียชีวิต ระหว่าง และหลังการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ความรู้เท่าทันชีวิตช่วงท้าย = End of Life Literacy (ELL) …

End of Life Literacy through Public Education บันทึกการสนทนาในกิจกรรม PHPC Group Read ครั้งที่ 1 Read More »

รายชื่อผู้ได้รับใบรับรองทักษะกระบวนกรชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี

รายชื่อดังต่อไปนี้ เป็นกระบวนการที่มีคุณสมบัติและทักษะการอบรมให้แก่ ผู้ป่วย ผู้ดูแลบุคลากรสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ในเนื้อหาดังนี้– การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองสำหรับประชาชน– การวางแผนดูแลล่วงหน้าแบบทั่วไป– การดูแลใจผู้ป่วย ครอบครัว ผู้ดูแล และบุคลากรสุขภาพ– การพัฒนาชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี เจนจิรา โลชา ชนาพร เหลืองระฆัง ชนาวุฒิ ปัญญาวัฒนากุล ชุติมา เรืองแก้วมณี ปิญชาดา ผ่องนพคุณ พันธกานต์ อินต๊ะมูล วรรณวิภา มาลัยนวล วิชญา โมฬีชาติ ศศิวิมล วงษ์สวัสดิ์ สุธีลักษณ์ ลาดปาละ เอกภพ สิทธิวรรณธนะ

ทำไมการดูแลแบบประคับประคองจึงสำคัญในระบบสุขภาพปฐมภูมิ

การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care – PC) ได้รับการพูดถึงและยอมรับมากขึ้นในงานสาธารณสุขของประเทศไทย นอกจากนี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ระบบสุขภาพและภาคประชาชนส่งเสียงเรียกร้องให้งานดูแลแบบประคับประคอง แผ่ขยายออกจากโรงพยาบาลมาสู่ชุมชนมากขึ้นจากแนวคิด Community-based palliative Care (การดูแลแบบประคับประคองฐานชุมชน) การผสานการทำงานระหว่างการดูแลแบบประคับประคองกับระบบสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care – PHC) จึงเป็นสิ่งจำเป็น ผู้เขียนเรียบเรียงเหตุผล ความจำเป็น อุปสรรคของการทำงาน และแนวทางการพัฒนาการดูแลแบบประคับประคองในระบบสุขภาพปฐมภูมิ (ต่อไปจะใช้ตัวย่อว่า PCxPHC) จากเอกสารชุด Why Palliative Care Is An Essential Function of Primary Health Care ปี 2018 [1] ดังนี้ ความจำเป็นในการพัฒนา PCxPHC การดูแลแบบประคับประคองที่ผสานกับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustanable Development Goal – SDG) หมวดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal …

ทำไมการดูแลแบบประคับประคองจึงสำคัญในระบบสุขภาพปฐมภูมิ Read More »

English version Circles of Care exhibition

#0 Circles of care This is infographic of circles of care show the ecology of caring componant. The center of circles is patient Inner network represents close relation that take care sanitery, eatary or serious health issues Outer network represents friend, distant relative that could take care of daily and general well being Communities represents …

English version Circles of Care exhibition Read More »

The Soul of Care: Book Review

The Soul of Care: The Moral Education of a Doctor Arthur Kleinman จัดพิมพ์ในชื่อภาษาไทยว่า วิญญาณของการดูแล การบ่มเพาะทางศีลธรรมของแพทย์คนหนึ่ง อาร์เธอร์ ไคลน์แมน หนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องราวอัตชีวประวัติของอาร์เธอร์ ไคลน์แมน จิตแพทย์และนักมานุษยวิทยาการแพทย์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนเล่าชีวประวัติควบคู่ไปกับประวัติการดูแลโจน ไคลน์แมน ภรรยาของผู้เขียนที่ประสบความทุกข์ทรมานจากภาวะสมองเสื่อมในวัย 50 ปี เส้นทางการดูแลเต็มไปด้วยความยากลำบาก หากก็มีส่วนเปลี่ยนแปลงความเป็นมนุษย์ของผู้เขียนอย่างลึกซึ้ง ในระหว่างการดูแล ผู้เขียนบอกเล่าเรื่องราวการดูแลภรรยาจากหลากหลายกลุ่ม ทั้งตัวผู้เขียน ครอบครัว ชุมชน บุคลากรสุขภาพทั่วไปและเชี่ยวชาญ ผู้เขียนเล่าด้วยมุมมองที่หลากหลาย ทั้งจากสายตาของสามีคนหนึ่ง พ่อคนหนึ่ง และนักวิชาการแนวหน้าด้านมานุษยวิทยาการแพทย์ ไม่แปลกที่หนังสือเล่มนี้เสนอข้อวิพากษ์พฤติกรรมการดูแลของแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ที่ถูกครอบงำโดยชุดคุณค่าแบบทุนนิยมและการบริหารจัดการ แทนที่การดูแลด้วยมือ หัวใจ และการอยู่ตรงหน้ากับผู้ป่วย เรื่องเล่าและบทวิเคราะห์การดูแลของผู้เขียนและภรรยาในหนังสือเล่มนี้ สะท้อนให้เห็นข้อจำกัดของระบบบริการสุขภาพในสหรัฐอเมริกา การละเลยไม่ใส่ใจบำรุงระบบการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ความบิดเบี้ยวของระบบการศึกษาแพทย์ และบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพที่ค่อยๆ กัดกร่อนความสามารถและทักษะการดูแลของบุคลากรสุขภาพวิชาชีพ จนผู้ป่วยและครอบครัวรู้สึกว่าสถาบันสุขภาพเหล่านี้ไม่ได้ให้การดูแลในเวลาที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลืออย่างที่สุด ขณะเดียวกัน The Soul of …

The Soul of Care: Book Review Read More »

เจรจาสร้างความร่วมมือการพัฒนาชุมชนกรุณาด้วยหลักการ K.I.S.S. (Keep It Short and Simple)

การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการอยู่และตายดีตามแนวคิดชุมชนกรุณา ไม่สามารถทำโดยลำพัง ทักษะการสร้างความร่วมมือกับผู้นำจากพันธมิตรจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อระดมคน กำลัง และทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในชุมชน มาเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการตายดีมากขึ้น บทความนี้นำเสนอเทคนิคการสนทนาเพื่อเสนอความร่วมมือกับคนที่เราอยากร่วมงานด้วย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่หวังผลการเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการพูดที่สั้น กระชับ เรียบง่าย (Keep It Short and Simple หรือ K.I.S.S.) แต่ได้ผล สรุปเนื้อหาจากงานอบรมหลักสูตรการออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับกระบวนกรชุมชนกรุณา ที่บ้านไม้หอม พระราม 2 วันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2565 สอนโดย ครูอ้อ หทัยรัตน์ สุดา ทำไมต้อง K.I.S.S. ปัญหาหนึ่งของการเจรจาสร้างความร่วมมือที่พบบ่อยๆ ของผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมักสื่อสารเนื้อหาการทำงานที่มากและนานเกินไปในการเสนองาน ไม่น่าสนใจ จนผู้ที่เราอยากจะขอความร่วมมือจับใจความสำคัญไม่ได้ เป็นนามธรรม สิ่งที่เสนออาจจะยากเกินไปในการร่วมงานด้วย ทำให้พลาดโอกาสที่จะสร้างความร่วมมือ สร้างความรู้จักคุ้นเคย พัฒนาความไว้เนื้อเชื่อใจจนเกิดเป็นความร่วมมือระยะยาว การพัฒนาบทเจรจาสร้างความร่วมมือ การขัดเกลาเนื้อหาการเจรจาและประเด็นขอความร่วมมือให้สั้น กระชับ จำได้ เป็นไปได้ และง่ายที่จะร่วมมือด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเปิดประตูโอกาสในการร่วมมือ …

เจรจาสร้างความร่วมมือการพัฒนาชุมชนกรุณาด้วยหลักการ K.I.S.S. (Keep It Short and Simple) Read More »

ผู้เชื่อมต่อสุขภาพ Health Connector Mendip

ในประเทศอังกฤษ และอีกหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้ระบบสุขภาพภาครัฐจะครอบคลุมการดูแลความเจ็บป่วยของประชาชนทุกคน แต่ก็ยังมีผู้เผชิญความปัญหาสุขภาพทางกายและจิตจำนวนหนึ่งก็ยังคง “ไม่รู้” ช่องทางและวิธีการที่จะเข้าถึงการรับบริการสุขภาพในระบบ ทำให้พลาดโอกาสในการป้องกันส่งเสริมสุขภาพ และได้รับบริการตามสิทธิ์ที่พึงมี โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบาง ประชาชนที่มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่คนเดียว เป็นต้น วิธีการแก้ปัญหาหนึ่งแบบชุมชนกรุณา คือการพัฒนา “ผู้เชื่อมต่อสุขภาพ” ในชุมชน ซึ่งจะช่วยเผยแพร่ความรู้ สนับสนุนให้เพื่อนร่วมชุมชนเข้าถึงและรับบริการสุขภาพตามระบบสวัสดิการสังคมและสุขภาพที่มีอยู่ ฟังดูไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร สังคมไทยก็มีคนที่ทำหน้าที่นี้อยู่ ก็คือ อสม. หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนั่นเอง  อย่างไรก็ตาม Health Connectors Medip ประเทศอังกฤษ เรียกคนทำหน้าที่เชื่อมต่อการดูแลสุขภาพว่า Health Connectors หรือผู้เชื่อมต่อสุขภาพ แนวคิดนี้อยู่ในข่ายความคิดเดียวกับงานสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care) ที่สนับสนุนการส่งเสริมป้องกันสุขภาพ ช่วยให้ผู้เผชิญความเจ็บป่วยได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนผู้ต้องการความช่วยเหลือที่ตกสำรวจจากระบบสุขภาพ Health Connectors นี้แหละก็จะช่วยสอดส่องคัดกรองให้เขาได้รับการดูแลตามสมควร โปรแกรมนี้จึงช่วยให้ชุมชนมีทรัพยากรบุคคลช่วยดูแลส่งเสริมสุขภาพ โอกาสที่ผู้ต้องการเข้าถึงการดูแลสุขภาพย่อมมีมากขึ้น และเมื่อ Health Connectors ทำหน้าที่เชื่อมต่อการดูแลในประเด็นการดูแลความตาย และความสูญเสีย โปรแกรมนี้จึงอยู่ในขอบข่ายชุมชนกรุณาด้วย ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโปรแกรม Helath Connectors Mendip …

ผู้เชื่อมต่อสุขภาพ Health Connector Mendip Read More »

เรื่องเล่าดิจิทัล (Digital Storytelling) กับการสื่อสารสร้างทัศนคติที่ดีต่อการดูแลแบบประคับประคอง

เอกภพ สิทธิวรรณธนะ19 พฤษภาคม 2565 ผู้เขียนได้ยินและได้เห็นเรื่องเล่าดิจิทัล หรือ Digital Storytelling ครั้งแรก ในงานประชุมนานาชาติด้านการสาธารณสุขและการดูแลแบบประคับประคอง Public Health and Palliative Care 2019 ที่ออสเตรเลีย ตัวชิ้นงานเองเป็นทั้งผลลัพธ์และการสื่อสารงานวิชาการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนงานดูแลแบบประคับประคอง ด้วยเสน่ห์ของงานวิจัยแบบนี้ที่เสพง่าย (และมีวีดีโอให้ดู) วิทยากรเพียงเกริ่นถึงกรณีผู้ให้ข้อมูลในวีดีโอ เปิดวีดีโอให้ชม และตอบคำถามช่วงท้ายเท่านั้น งานนำเสนอส่วนที่เหลือคือการฉายวีดีโอให้ผู้ร่วมประชุมรับรู้เรื่องราวจากผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่ผู้ป่วยระยะท้ายในฮอซพิซ ด้วยเสียงและภาพประกอบของตนเอง หลังฉายจบค่อยเล่าเบื้องหลัง กระบวนการสร้างเรื่องเล่า เรื่องเล่าดิจิทัล แม้ดูเผินๆ อาจเข้าใจว่าคือวีดีโอสารคดีชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับชีวิตผู้ป่วย แต่ในทางญาณวิทยา เรื่องเล่าดิจิทัล ต่อยอดจากระเบียบวิธีวิจัยแบบเรื่องเล่า (Narrative Inquiry) ที่ให้ความสนใจกับประสบการณ์ของผู้เล่าเรื่องที่มักเป็นผู้อยู่ชายขอบของสังคม  หากเป็นการวิจัยเรื่องเล่าดั้งเดิม เรื่องเล่าจะอยู่ในรูปบันทึกเรื่องเล่า โดยนักวิจัยจะสร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างสัมพันธภาพกับผู้เล่าเรื่อง แล้วฟังประสบการณ์วิกฤตของผู้เล่าเรื่อง ปล่อยให้ผู้เล่าได้เปิดเผยเรื่องราวชีวิตของตนเองอย่างพรั่งพรูออกมาโดยนักวิจัยแทรกแซงให้น้อยที่สุด แต่ในปัจจุบัน คนอ่านบันทึกเรื่องเล่าจากงานวิจัยกันน้อยลง นักวิจัยจึงต้องเรียนรู้ที่จะใช้สื่อใหม่อย่างสื่อดิจิทัล มาเป็นเครื่องมือสร้างเรื่องเล่าพร้อมไปกับการเล่าเรื่อง นักวิจัยทีมนี้สนใจประสบการณ์ของผู้สูงอายุ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งผู้ป่วยระยะท้ายที่มีต่อการรักษาแบบประคับประคอง  เริ่มจากรับสมัครกลุ่มคนเล่าเรื่อง …

เรื่องเล่าดิจิทัล (Digital Storytelling) กับการสื่อสารสร้างทัศนคติที่ดีต่อการดูแลแบบประคับประคอง Read More »

เรื่องของบัว เรื่องเล่าสื่อสารชุมชนกรุณา

เรื่องของบัว คือนิทานสั้นๆ เรื่องหนึ่งที่ทีมงานใช้สื่อสารแนวคิดชุมชนกรุณา นิทานเรื่องนี้แต่งโดย Milford Care Centre สถานดูแลผู้สูงอายุ และฮอซพิซ ประเทศไอร์แลนด์ ต้นฉบับมีชื่อว่า Bill’s story นิทานเรื่องนี้เข้าใจง่ายดี โครงการชุมชนกรุณา จึงปรับเรื่องเล็กน้อยและวาดภาพประกอบใหม่ให้เข้ากับบริบทไทย

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา