Admin

รายชื่อผู้ได้รับใบรับรองทักษะกระบวนกรชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี

รายชื่อดังต่อไปนี้ เป็นกระบวนการที่มีคุณสมบัติและทักษะการอบรมให้แก่ ผู้ป่วย ผู้ดูแลบุคลากรสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ในเนื้อหาดังนี้– การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองสำหรับประชาชน– การวางแผนดูแลล่วงหน้าแบบทั่วไป– การดูแลใจผู้ป่วย ครอบครัว ผู้ดูแล และบุคลากรสุขภาพ– การพัฒนาชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี เจนจิรา โลชา ชนาพร เหลืองระฆัง ชนาวุฒิ ปัญญาวัฒนากุล ชุติมา เรืองแก้วมณี ปิญชาดา ผ่องนพคุณ พันธกานต์ อินต๊ะมูล วรรณวิภา มาลัยนวล วิชญา โมฬีชาติ ศศิวิมล วงษ์สวัสดิ์ สุธีลักษณ์ ลาดปาละ เอกภพ สิทธิวรรณธนะ

ชุมชนกรุณาเพื่อการตายดี

เขียนโดย พระไพศาล วิสาโล ทุกครั้งที่มีการตั้งคำถามถึงความตายที่พึงปรารถนา  คนส่วนใหญ่จะตอบว่า “ตายดี”  แต่ก็น่าสงสัยว่าผู้คนทั้งหลายครุ่นคิดถึงเรื่องนี้เพียงใด  ส่วนใหญ่ใช้ชีวิต เวลาและทรัพยากรที่มีเพื่อการ “อยู่ดี”มากกว่า มีน้อยคนมากที่จริงจังกับการเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อการตายดี  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมองว่าความตายเป็นเรื่องไกลตัว ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วมันเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก เพราะเราทุกคนมีโอกาสที่จะตายได้ตลอดเวลา  ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันอย่างเต็มร้อยว่าเราจะมีชีวิตถึงวันพรุ่งนี้  ในเมื่อทัศนคติของผู้คนเป็นเช่นนี้  จึงไม่น่าแปลกใจที่เมืองไทยทุกวันนี้ให้ความสำคัญน้อยมากกับการส่งเสริมให้เกิดการตายดีในระดับสังคม  การตายดีกลายเป็นเรื่องที่แต่ละคนหรือแต่ละครอบครัวต้องขวนขวายกันเอง และมักจะตื่นตัวเรื่องนี้ต่อเมื่อคนใกล้ตัวป่วยหนักหรือกำลังจะสิ้นลม  ผลก็คือผู้คนจำนวนมากตายด้วยความทุกข์ทรมานเพราะไม่เคยมีการเตรียมตัวในเรื่องนี้เลย  หรือไม่มีเวลาเตรียมตัวที่มากพอ จึงขาดปัจจัยสนับสนุนที่จะช่วยให้การตายดีเกิดขึ้นได้  ใช่แต่เท่านั้นความทุกข์ยังตกอยู่แก่ลูกหลานญาติพี่น้องที่ดูแลคนรักทั้งระหว่างที่เจ็บป่วยและหลังจากสิ้นลมแล้ว มีทั้งความเศร้าโศก กลัดกลุ้ม และรู้สึกผิดที่เห็นคนรักของตัวตายด้วยความทุกข์ทรมาน  การตายดีจะเกิดขึ้นได้นอกจากอาศัยความรู้ความเข้าใจในความจริงของชีวิต จนเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว ทัศนคติและทักษะในการน้อมใจผู้ป่วยให้เกิดความสงบในวาระสุดท้ายก็สำคัญ แต่ที่มองข้ามไปไม่ได้ก็คือ การดูแลผู้ป่วยในทางกายเพื่อช่วยให้สุขสบาย ไม่ถูกรบกวนด้วยความเจ็บปวด โดยไม่เพิ่มความทุกข์ให้มากขึ้น (ซึ่งมักมาพร้อมกับเทคโนโลยีนานาชนิดที่มุ่งยื้อชีวิตผู้ป่วยให้ยืนยาวที่สุด)  องค์ความรู้ เทคโนโลยี อุปกรณ์ ตลอดจนสถานที่ และบุคลากร ที่จะช่วยให้เหตุปัจจัยดังกล่าวเกิดขึ้นได้ บ่อยครั้งเป็นเรื่องสุดวิสัยที่ครอบครัวของผู้ป่วยจะจัดหามาให้ครบถ้วนเพื่อช่วยให้การตายดีเกิดขึ้นได้  หลายครอบครัวอาศัยเครือข่ายญาติมิตรของตนช่วยจัดหามาให้ อีกทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากบุคลากรด้านสุขภาพ (ซึ่งมักมีงานล้นมือจนบางครั้งก็ช่วยได้ไม่เต็มที่) ด้วยการร่วมแรงร่วมใจดังกล่าวผู้ป่วยหลายคนจึงจากไปอย่างสงบ  อย่างไรก็ตามมีครอบครัวจำนวนมากที่ไม่สามารถช่วยให้คนรักของตนจากไปอย่างสงบได้ เพราะมีอุปสรรคในการเข้าถึงทรัพยากรดังกล่าว (ยังไม่ต้องพูดถึงอีกจำนวนมากที่ไม่ได้นึกถึงการตายดีเลย เพราะคิดแต่จะยื้อชีวิตผู้ป่วยให้ยืนยาวที่สุด)  ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่านั้นก็คือ ครอบครัวเหล่านี้นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสังคมไทยกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ …

ชุมชนกรุณาเพื่อการตายดี Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา