งานวิจัย

การพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย

เรียบเรียงโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ11 พฤษภาคม 2565 Key Message ความรู้เท่าทันความตาย คือ ชุดความรู้และทักษะที่บุคคลจำเป็นต้องมี เพื่อทำความเข้าใจ เข้าถึงการรับบริการ และตัดสินใจเลือกการดูแลชีวิตช่วงท้ายและการตายของตนเองและผู้ป่วย การพัฒนาความรู้เท่าทันความตายประกอบด้วย การพัฒนาความรู้ ทักษะ ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ และการปฏิบัติทางสังคม ชุมชนกรุณา (Compassionate Communities) เสนอว่าความเจ็บป่วย การตาย การดูแล และความสูญเสีย เป็นธุระที่ไม่อาจฝากไว้ให้บุคลากรสุขภาพและผู้เชี่ยวชาญดูแลแต่เพียงฝ่ายเดียว หากเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนจะต้องมีส่วนรับผิดชอบ (Death is everybody’s business) เมื่อนั้น เราทุกคนจึงสามารถดูแลความเจ็บป่วยช่วงท้าย การตาย และความสูญเสียอย่างมีคุณภาพได้ที่บ้านและชุมชน ลดการพึ่งพิงระบบสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อหลักประการหนึ่งของการสาธารณสุขแห่งการดูแลแบบประคับประคอง (Public Health Palliative Care) ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะท้ายและผู้ดูแลได้ในระดับประชากร อย่างไรก็ตาม การที่เราจะดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การตาย ประคับประคองการดูแลและความสูญเสียได้นั้น บุคคลและชุมชนจำเป็นต้องมีศักยภาพบางประการที่ช่วยให้เราดูแลความทุกข์ที่เกี่ยวเนื่องกับความเจ็บป่วยและความสูญเสียข้างต้นได้ เราเรียกสิ่งนั้นว่า “ความรู้เท่าทันความตาย” (Dealth Literacy) [1] ความรู้เท่าทันความตายคืออะไร แนวคิดความรู้เท่าทันความตาย …

การพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย Read More »

วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care)

เอกภพ สิทธิวรรณธนะ28 กุมภาพันธ์ 2565 ช่วงนี้ผมได้เรียนรู้ตัวอย่างการทำงานชุมชนกรุณาทั้งในและต่างประเทศ ค่อยๆ เห็นกรอบคิดกรอบหนึ่งที่ปรากฏบ่อยๆ ในกิจกรรม แผนงาน โครงการพัฒนาความเข้มแข็งของบุคคลและชุมชนในการรับมือในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้านหรือชุมชน นั่นคือ Circles of Care (วงล้อมแห่งการดูแล) ในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วกำลังเผชิญภาวะสังคมสูงวัยรุนแรง เกิดปัญหาขาดแคลนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ป่วยระยะท้าย ความขาดแคลนดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมากทั้งทางกายและใจ ผู้ป่วยที่มีกำลังจ่ายอาจจะยังพอจ่ายเงินซื้อบริการบ้านพักผู้สูงอายุหรือโรงพยาบาลได้ ส่วนผู้ไม่มีกำลังจ่ายก็ต้องทนทุกข์ ศ. จูเลียน อาเบล (Julian Abel) และคณะ (2013) เสนอว่าภาวะดังกล่าวเป็นทั้งวิกฤตของผู้ป่วยระยะท้าย ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสพลิกฟื้นภูมิปัญญาในการดูแลการตายและความสูญเสียของชุมชน การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้อยู่และตายดีในชุมชนไม่ใช่สิ่งใหม่ หากเป็นสิ่งสามัญที่เคยดำรงอยู่มาก่อนที่การแพทย์สมัยใหม่จะเกิดขึ้น ความทุกข์ของเพื่อนที่กำลังสบตากับความตาย เรียกร้องให้สมาชิกหันมาดูแลใส่ใจกันและกัน ผลลัพธ์จากการสร้างวงล้อมที่โอบอุ้มการดูแลไม่เพียงช่วยให้เพื่อนของเราจากไปอย่างสงบเท่านั้น แต่ยังทำให้เรามั่นใจในการดูแลความทุกข์จากความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสียของตัวเราและคนที่เรารักอีกด้วย ส่วนจะทำอย่างไรนั้น อาเบล เสนอโมเดลในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนกรุณาที่ชื่อว่า วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care) กรอบคิดของ Cilcles of Care นั้นเรียบง่าย เปรียบวงล้อมการดูแลเป็นวงกลมที่โอบกันเป็นชั้น มีจุดศูนย์กลางคือ ผู้เผชิญความทุกข์ ซึ่งในที่นี้คือ ผู้เผชิญความเจ็บป่วยร้ายแรง …

วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care) Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา