เอกภพ สิทธิวรรณธนะ

ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy)

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2565 Key Message ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy) คือศักยภาพในการรับมือความโศกเศร้าจากความสูญเสีย ประกอบด้วยความรู้ ทักษะปฏิบัติ และคุณค่าที่สนับสนุนการรับมือ การสร้างความรู้เท่าทันความโศกเศร้า คือการเสริมสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติของบุคคลและเครือข่ายต่างๆ ของชุมชน ให้มีความสามารถในการดูแลความสูญเสีย เน้นการทำงานเชิงส่งเสริมป้องกันมากกว่าการบำบัด ความโศกเศร้า ความโศกเศร้า (Grief) คือประสบการณ์ความทุกข์หลังการสูญเสียสิ่งที่มีความสำคัญโดย โดยเฉพาะบุคคลที่มีความผูกพันและมีความหมาย [1] อาจรวมถึงการสูญเสียอวัยวะ การงาน วิถีชีวิตปกติ การสูญเสียคุณค่าสำคัญที่บุคคลยึดถือ รวมถึงการรับรู้ว่าชีวิตของตนเหลืออยู่จำกัดอันเนื่องจากความเจ็บป่วยและการตาย ความโศกเศร้ามองได้หลายแง่มุม ในมุมจิตวิทยา เราอาจมองว่าความโศกเศร้าคือปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังความสูญเสียของปัจเจกบุคคล ผู้สูญเสียจะใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อรับมือกับความเศร้าในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยมีปลายทางคือการฟื้นคืนสมดุลชีวิต และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ความเศร้าที่ผิดปกติ เรื้อรัง หรือซับซ้อน จำเป็นต้องรักษาหรือได้รับความช่วยเหลือโดยผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยา นักบำบัด  ในทางการแพทย์ อาจมองความโศกเศร้าในมุมของชีววิทยา หรือประสาทวิทยา ความโศกเศร้าอาจรักษาได้ด้วยยาต้านเศร้า เพื่อคืนสมดุลเคมีในสมอง และกลับมาดำเนินชีวิตและทำงานได้ตามปกติ การมองความเศร้าทั้งสองแง่มุมมีส่วนถูก แต่ก็มีข้อจำกัด เพราะในสถานการณ์โรคระบาดที่คนในสังคมเผชิญความสูญเสียขนานใหญ่ …

ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy) Read More »

ชุมชนกรุณาและเมืองกรุณา

ผู้เขียน เอกภพ สิทธิวรรณธนะวันที่เผยแพร่ 2022-4-18 ในการทำงานส่งเสริมสุขภาพแนวดูแลแบบประคับประคอง (Health-Promoting Palliative Care) นอกจากคำว่าชุมชนกรุณา (Compassionate Communities) แล้ว ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มีความหมายใกล้เคียงกันคือเมืองกรุณา (Compassionate Cities) นักปฏิบัติชุมชนกรุณาจึงอาจสงสัยว่าสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร คำทั้งสองถูกเสนอโดย ศ.อาลัน เคเลเฮียร์ (Allan Kellehear) ผู้ก่อตั้ง Public Health Palliative Care International (PHPCI) อันที่จริง คำที่ได้รับการใช้งานก่อนคือ เมืองกรุณา (Compassionate Cities) ปรากฏในหนังสือชื่อ Compassionate Cities: Public Health and end-of-life care ซึ่งมีนิยามดังนี้ [1] “เมืองกรุณา คือชุมชนที่ตระหนักว่าวงจรแห่งสุขภาพและความเจ็บป่วย เกิดและตาย พบพานและสูญเสีย เกิดขึ้นในชีวิตเป็นวัฏจักรธรรมชาติ เมืองกรุณาคือชุมชนที่ตระหนักว่าการดูแลกันและกันในช่วงเวลาวิกฤตและสูญเสีย ไม่ใช่ภาระงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือนักสังคมสงเคราะห์เท่านั้น แต่คือความรับผิดชอบของคนทุกคน เมืองกรุณา คือชุมชนที่ทำงานสาธารณะในการส่งเสริม เอื้ออำนวย สนับสนุน …

ชุมชนกรุณาและเมืองกรุณา Read More »

เรื่องของบัว เรื่องเล่าสื่อสารชุมชนกรุณา

เรื่องของบัว คือนิทานสั้นๆ เรื่องหนึ่งที่ทีมงานใช้สื่อสารแนวคิดชุมชนกรุณา นิทานเรื่องนี้แต่งโดย Milford Care Centre สถานดูแลผู้สูงอายุ และฮอซพิซ ประเทศไอร์แลนด์ ต้นฉบับมีชื่อว่า Bill’s story นิทานเรื่องนี้เข้าใจง่ายดี โครงการชุมชนกรุณา จึงปรับเรื่องเล็กน้อยและวาดภาพประกอบใหม่ให้เข้ากับบริบทไทย

เราจะช่วยให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองได้อย่างไร

การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลปัญหาองค์รวมทางกาย จิตสังคม กฎหมาย และจิตวิญญาณ ที่ผู้ป่วยและครอบครัวต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยที่มีชีวิตเหลือจำกัด ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเข้าถึงการดูแลแบบประคัปประคองจากหลากหลายแหล่งบริการ ทั้งโรงพยาบาล คลินิกผู้ป่วยนอก ฮอซพิซ สถานดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลสุขภาพชุมชน และที่บ้าน การดูแลหหแบบประคับประคองคือพื้นฐานที่ช่วยให้มนุษย์บรรลุสุขภาวะ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิ์พื้นฐานของมนุษย์ การดูแลแบบประคับประคองสามารถเริ่มทำตั้งแต่แรกวินิจฉัย และดูแลควบคู่ไปกับการรักษาตามปกติ (Brennan, F., 2008)

จดหมายข่าวชุมชนกรุณา ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2565

เนื้อหาเด่น วงล้อมแห่งการดูแล New Essentials Palliative Care ชูคัตสึ เพื่อนแท้ชื่อความตาย ห้องสมุดผีเสื้อ สมุดภาพเมืองแห่งกรุณา Podcast รายการใหม่ เสียงแห่งความกรุณา ห้องเรียนเบาใจ ดาวน์โหลดได้ที่ http://cocofoundationthailand.org/wp-content/uploads/2022/03/2022-3-จดหมายข่าวฉบับที่-3.pdf อ่านออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ ISUUU https://issuu.com/cocofoundationthailand/docs/2022-3_3

วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care)

เอกภพ สิทธิวรรณธนะ28 กุมภาพันธ์ 2565 ช่วงนี้ผมได้เรียนรู้ตัวอย่างการทำงานชุมชนกรุณาทั้งในและต่างประเทศ ค่อยๆ เห็นกรอบคิดกรอบหนึ่งที่ปรากฏบ่อยๆ ในกิจกรรม แผนงาน โครงการพัฒนาความเข้มแข็งของบุคคลและชุมชนในการรับมือในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้านหรือชุมชน นั่นคือ Circles of Care (วงล้อมแห่งการดูแล) ในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วกำลังเผชิญภาวะสังคมสูงวัยรุนแรง เกิดปัญหาขาดแคลนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ป่วยระยะท้าย ความขาดแคลนดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมากทั้งทางกายและใจ ผู้ป่วยที่มีกำลังจ่ายอาจจะยังพอจ่ายเงินซื้อบริการบ้านพักผู้สูงอายุหรือโรงพยาบาลได้ ส่วนผู้ไม่มีกำลังจ่ายก็ต้องทนทุกข์ ศ. จูเลียน อาเบล (Julian Abel) และคณะ (2013) เสนอว่าภาวะดังกล่าวเป็นทั้งวิกฤตของผู้ป่วยระยะท้าย ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสพลิกฟื้นภูมิปัญญาในการดูแลการตายและความสูญเสียของชุมชน การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้อยู่และตายดีในชุมชนไม่ใช่สิ่งใหม่ หากเป็นสิ่งสามัญที่เคยดำรงอยู่มาก่อนที่การแพทย์สมัยใหม่จะเกิดขึ้น ความทุกข์ของเพื่อนที่กำลังสบตากับความตาย เรียกร้องให้สมาชิกหันมาดูแลใส่ใจกันและกัน ผลลัพธ์จากการสร้างวงล้อมที่โอบอุ้มการดูแลไม่เพียงช่วยให้เพื่อนของเราจากไปอย่างสงบเท่านั้น แต่ยังทำให้เรามั่นใจในการดูแลความทุกข์จากความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสียของตัวเราและคนที่เรารักอีกด้วย ส่วนจะทำอย่างไรนั้น อาเบล เสนอโมเดลในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนกรุณาที่ชื่อว่า วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care) กรอบคิดของ Cilcles of Care นั้นเรียบง่าย เปรียบวงล้อมการดูแลเป็นวงกลมที่โอบกันเป็นชั้น มีจุดศูนย์กลางคือ ผู้เผชิญความทุกข์ ซึ่งในที่นี้คือ ผู้เผชิญความเจ็บป่วยร้ายแรง …

วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care) Read More »

บันทึกการอ่าน Matching response to need: What makes social networks fit for providing bereavement support?

Aoun, S. M. และคณะ ทำงานเกาะติดประเด็นการดูแลใจผู้สูญเสีย (Bereavement Care) หลากหลายแง่มุม งานศึกษาเชิงคุณภาพชิ้นนี้ตั้งคำถามว่า เมื่อถึงเมื่อใครคนหนึ่งสูญเสียคนรักไป พวกเขามีวิธีแสวงหาความช่วยเหลือจากเครือข่ายสังคมของเขาอย่างไร ศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากผู้สูญเสียจำนวน 20 คน ตลอดระยะเวลากว่า 5 เดือน โดยใช้กรอบแนวคิด Goodness of Fit Network มาเป็นโครงสร้างการสัมภาษณ์ คือถามว่า ในรอบความสูญเสียที่ผ่านมา ผู้สูญเสียคิดอย่างไรกับ แหล่งช่วยเหลือ (source) ปริมาณการช่วยเหลือ (amount) เวลา (timing) หน้าที่ (function) และ โครงสร้าง (structure) ของการช่วยเหลือ ข้อค้นพบที่น่าสนใจมีดังนี้ เกี่ยวกับแหล่งความช่วยเหลือในการดูแลความสูญเสีย ผู้สูญเสียรับแหล่งช่วงเหลือทั้งจากภาคางการ (แพทย์ นักบำบัด นักจิตวิทยา นักบวช) และไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว เพื่อน กลุ่มงานอดิเรก อาสาสมัคร self help group …

บันทึกการอ่าน Matching response to need: What makes social networks fit for providing bereavement support? Read More »

จดหมายข่าวชุมชนกรุณา ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2565

เนื้อหาเด่น แนวคิดชุมชนกรุณา กฎบัตรเมืองกรุณา Compassionate City Charter ประสบการณ์กระบวนกรชุมชน Green Book Cafe กับดิเรก ชัยชนะ ห้องเรียนเบาใจ กิจกรรม สมุดภาพเมืองแห่งความกรุณา ผ่อนกายพักใจด้วยไมตรี ดาวน์โหลดได้ที่ http://cocofoundationthailand.org/wp-content/uploads/2022/02/2022-2-enews-February-2022.pdf อ่านออนไลน์ได้ที่เว็บ ISUU https://issuu.com/cocofoundationthailand/docs/2022-2_enews_february_2022

กฎบัตรเมืองกรุณา (Compassionate City Charter)

ในชุมชนและเมืองของเรา ยังมีเพื่อนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ร่วมกับเรา แต่มักถูกละเลยไป ได้แก่ ผู้ป่วยที่เหลือเวลาในชีวิตจำกัด ผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้เผชิญความสูญเสีย เพื่อนกลุ่มนี้มักไม่ได้รับการใส่ใจจากสังคมในวงกว้าง รวมทั้งระบบการดูแลสุขภาพที่เป็นทางการ เพื่อนกลุ่มนี้มักประสบความทุกข์จากความเจ็บป่วยและภาวะคุกคามสุขภาพ ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยชีววิทยา จิตวิทยา ปัญหาสังคม ปัญหาที่เกี่ยวกับการทำงาน จนได้รับผลกระทบหลากหลาย เช่น ความเหงา ความโดดเดี่ยว การตีตรา การสูญเสียงาน ความวิตกกังวล ซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย กฎบัตรเพื่อการปฏิบัติสู่เมืองกรุณา เมืองกรุณา คือชุมชนที่ตระหนักว่าวงจรแห่งสุขภาพและความเจ็บป่วย เกิดและตาย พบพานและสูญเสีย เกิดขึ้นในชีวิตเป็นวัฏจักรธรรมชาติ เมืองกรุณาคือชุมชนที่ตระหนักว่าการดูแลกันและกันในช่วงเวลาวิกฤตและสูญเสีย ไม่ใช่ภาระงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือนักสังคมสงเคราะห์เท่านั้น แต่คือความรับผิดชอบของคนทุกคน เมืองกรุณา คือชุมชนที่ทำงานสาธารณะในการส่งเสริม เอื้ออำนวย สนับสนุน และเฉลิมฉลองการดูแลเพื่อนมนุษย์ในช่วงเวลาที่พวกเขาเผชิญประสบการณ์ท้าทายของชีวิต อาทิ เจ็บป่วยเหลือเวลาในชีวิตอย่างจำกัด ประสบความพิการเรื้อรัง ประสบความชราและเสื่อมทั้งร่างกายและสมอง ประสบความโศกเศร้าและสูญเสีย ประสบความยากลำบากในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังยาวนาน ขณะที่ระบบบริการสุขภาพเพียรทำหน้าที่สนับสนุนการดูแลดังกล่าวให้มีคุณภาพ เราทุกคนพึงตระหนักว่าวิกฤตของชีวิตจากความเจ็บป่วย การตาย ความตาย และความสูญเสีย อาจมาเยือนเราเมื่อใดก็ได้ เมืองกรุณาคือชุมชนที่ตระหนักถึงความจริงนี้ด้วยความไม่ประมาท และพร้อมจะยื่นมือเข้าสนับสนุน ในวาระนี้เอง ผู้นำประเทศ/ เมือง/ องค์กร/ …

กฎบัตรเมืองกรุณา (Compassionate City Charter) Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา