เอกภพ สิทธิวรรณธนะ

เรื่องเล่าดิจิทัล (Digital Storytelling) กับการสื่อสารสร้างทัศนคติที่ดีต่อการดูแลแบบประคับประคอง

เอกภพ สิทธิวรรณธนะ19 พฤษภาคม 2565 ผู้เขียนได้ยินและได้เห็นเรื่องเล่าดิจิทัล หรือ Digital Storytelling ครั้งแรก ในงานประชุมนานาชาติด้านการสาธารณสุขและการดูแลแบบประคับประคอง Public Health and Palliative Care 2019 ที่ออสเตรเลีย ตัวชิ้นงานเองเป็นทั้งผลลัพธ์และการสื่อสารงานวิชาการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนงานดูแลแบบประคับประคอง ด้วยเสน่ห์ของงานวิจัยแบบนี้ที่เสพง่าย (และมีวีดีโอให้ดู) วิทยากรเพียงเกริ่นถึงกรณีผู้ให้ข้อมูลในวีดีโอ เปิดวีดีโอให้ชม และตอบคำถามช่วงท้ายเท่านั้น งานนำเสนอส่วนที่เหลือคือการฉายวีดีโอให้ผู้ร่วมประชุมรับรู้เรื่องราวจากผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่ผู้ป่วยระยะท้ายในฮอซพิซ ด้วยเสียงและภาพประกอบของตนเอง หลังฉายจบค่อยเล่าเบื้องหลัง กระบวนการสร้างเรื่องเล่า เรื่องเล่าดิจิทัล แม้ดูเผินๆ อาจเข้าใจว่าคือวีดีโอสารคดีชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับชีวิตผู้ป่วย แต่ในทางญาณวิทยา เรื่องเล่าดิจิทัล ต่อยอดจากระเบียบวิธีวิจัยแบบเรื่องเล่า (Narrative Inquiry) ที่ให้ความสนใจกับประสบการณ์ของผู้เล่าเรื่องที่มักเป็นผู้อยู่ชายขอบของสังคม  หากเป็นการวิจัยเรื่องเล่าดั้งเดิม เรื่องเล่าจะอยู่ในรูปบันทึกเรื่องเล่า โดยนักวิจัยจะสร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างสัมพันธภาพกับผู้เล่าเรื่อง แล้วฟังประสบการณ์วิกฤตของผู้เล่าเรื่อง ปล่อยให้ผู้เล่าได้เปิดเผยเรื่องราวชีวิตของตนเองอย่างพรั่งพรูออกมาโดยนักวิจัยแทรกแซงให้น้อยที่สุด แต่ในปัจจุบัน คนอ่านบันทึกเรื่องเล่าจากงานวิจัยกันน้อยลง นักวิจัยจึงต้องเรียนรู้ที่จะใช้สื่อใหม่อย่างสื่อดิจิทัล มาเป็นเครื่องมือสร้างเรื่องเล่าพร้อมไปกับการเล่าเรื่อง นักวิจัยทีมนี้สนใจประสบการณ์ของผู้สูงอายุ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งผู้ป่วยระยะท้ายที่มีต่อการรักษาแบบประคับประคอง  เริ่มจากรับสมัครกลุ่มคนเล่าเรื่อง …

เรื่องเล่าดิจิทัล (Digital Storytelling) กับการสื่อสารสร้างทัศนคติที่ดีต่อการดูแลแบบประคับประคอง Read More »

การพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย

เรียบเรียงโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ11 พฤษภาคม 2565 Key Message ความรู้เท่าทันความตาย คือ ชุดความรู้และทักษะที่บุคคลจำเป็นต้องมี เพื่อทำความเข้าใจ เข้าถึงการรับบริการ และตัดสินใจเลือกการดูแลชีวิตช่วงท้ายและการตายของตนเองและผู้ป่วย การพัฒนาความรู้เท่าทันความตายประกอบด้วย การพัฒนาความรู้ ทักษะ ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ และการปฏิบัติทางสังคม ชุมชนกรุณา (Compassionate Communities) เสนอว่าความเจ็บป่วย การตาย การดูแล และความสูญเสีย เป็นธุระที่ไม่อาจฝากไว้ให้บุคลากรสุขภาพและผู้เชี่ยวชาญดูแลแต่เพียงฝ่ายเดียว หากเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนจะต้องมีส่วนรับผิดชอบ (Death is everybody’s business) เมื่อนั้น เราทุกคนจึงสามารถดูแลความเจ็บป่วยช่วงท้าย การตาย และความสูญเสียอย่างมีคุณภาพได้ที่บ้านและชุมชน ลดการพึ่งพิงระบบสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อหลักประการหนึ่งของการสาธารณสุขแห่งการดูแลแบบประคับประคอง (Public Health Palliative Care) ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะท้ายและผู้ดูแลได้ในระดับประชากร อย่างไรก็ตาม การที่เราจะดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การตาย ประคับประคองการดูแลและความสูญเสียได้นั้น บุคคลและชุมชนจำเป็นต้องมีศักยภาพบางประการที่ช่วยให้เราดูแลความทุกข์ที่เกี่ยวเนื่องกับความเจ็บป่วยและความสูญเสียข้างต้นได้ เราเรียกสิ่งนั้นว่า “ความรู้เท่าทันความตาย” (Dealth Literacy) [1] ความรู้เท่าทันความตายคืออะไร แนวคิดความรู้เท่าทันความตาย …

การพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย Read More »

ความตายวาดได้ ศิลปะสู่พื้นที่เรียนรู้ความตาย || ชุมชนกรุณาศึกษา

ปฏิบัติการชุมชนกรุณา เชิญทุกคนเข้ามามีบทบาทสร้างพื้นที่เรียนรู้ความเจ็บป่วย ความตาย การดูแล และความสูญเสีย ตามความถนัด ความสนใจ บทบาทของตนเองที่เป็นอยู่ ดังเช่นการทำงานของแอนโทเนีย โรลส์ (Antonia Rolls) ศิลปินหญิงผู้วาดการตายและจัดแสดงงานศิลปะ แอนโทเนีย เป็นศิลปินวาดภาพบุคคล เธอกล่าวว่าเธอไม่รู้ว่าความตายเป็นอย่างไร จนกระทั่ง ปี 2007 สตีฟ สามีของเธอป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เธอตระหนักถึงความตายว่าเป็นความจริง เธอไม่เคยเตรียมใจรับความพลัดพรากเช่นนี้มาก่อน ประสบการณ์การดูแล การตาย และความสูญเสียเป็นประสบการณ์ใหม่ สิ่งหนึ่งที่แอนโทเนียใช้เป็นเครื่องมือในการอยู่กับสภาวะที่ปั่นป่วนนี้ คือการวาดภาพสามีของเธอที่กำลังเสื่อมถอยและกำลังจะตาย เพราะเธอคิดว่า อาจมีคนอื่นๆ ที่อยากรู้จักสภาวะของการเผชิญความตายเช่นนี้เพื่อเตรียมใจ และภาพวาดบุคคลแบบสมจริงที่แสดงอาการใกล้ตายของสตีฟ น่าจะทำให้คนอื่นๆ ได้ทำความรู้จักความตายมากขึ้น และทำให้เรื่องนี้ปรากฏในชีวิตประจำวันของผู้คน เธอวาดภาพเหมือนของสตีฟทั้งส่วนที่เป็นกายภาพ (เช่น ความร่วงโรย กล้ามเนื้อที่ค่อยๆ เสื่อมลง กระดูกที่เห็นชัดขึ้น) และส่วนที่เป็นอารมณ์ที่สะท้อนบนใบหน้า รวมทั้งสีหรือสัญลักษณ์ที่แสดงอารมณ์ขัน หรือความโศกเศร้า ที่เธอสัมผัสได้ในช่วงนั้นๆ ในวันที่สตีฟเสียชีวิต แอนโทเนียยังวาดการตายของเขาไว้ด้วย เธอยังบันทึกแง่มุมความงดงามของความป่วยและความตายที่เธอเห็นลงในภาพ นั่นทำให้ผลงานของเธอเป็นบันทึกชั่วขณะแห่งการอยู่ด้วยกันกับความเจ็บป่วย การตาย ระหว่างศิลปิน ผู้ป่วย และผู้ดูแลหลังจากสตีฟจากไป แอนโทเนียจัดแสดงผลงานของเธอในบ้าน มีผู้ป่วยเข้ามาเยี่ยมชมและขอให้แอนโทเนียวาดพวกเขาด้วยเทคนิคเดียวกัน …

ความตายวาดได้ ศิลปะสู่พื้นที่เรียนรู้ความตาย || ชุมชนกรุณาศึกษา Read More »

ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy)

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2565 Key Message ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy) คือศักยภาพในการรับมือความโศกเศร้าจากความสูญเสีย ประกอบด้วยความรู้ ทักษะปฏิบัติ และคุณค่าที่สนับสนุนการรับมือ การสร้างความรู้เท่าทันความโศกเศร้า คือการเสริมสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติของบุคคลและเครือข่ายต่างๆ ของชุมชน ให้มีความสามารถในการดูแลความสูญเสีย เน้นการทำงานเชิงส่งเสริมป้องกันมากกว่าการบำบัด ความโศกเศร้า ความโศกเศร้า (Grief) คือประสบการณ์ความทุกข์หลังการสูญเสียสิ่งที่มีความสำคัญโดย โดยเฉพาะบุคคลที่มีความผูกพันและมีความหมาย [1] อาจรวมถึงการสูญเสียอวัยวะ การงาน วิถีชีวิตปกติ การสูญเสียคุณค่าสำคัญที่บุคคลยึดถือ รวมถึงการรับรู้ว่าชีวิตของตนเหลืออยู่จำกัดอันเนื่องจากความเจ็บป่วยและการตาย ความโศกเศร้ามองได้หลายแง่มุม ในมุมจิตวิทยา เราอาจมองว่าความโศกเศร้าคือปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังความสูญเสียของปัจเจกบุคคล ผู้สูญเสียจะใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อรับมือกับความเศร้าในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยมีปลายทางคือการฟื้นคืนสมดุลชีวิต และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ความเศร้าที่ผิดปกติ เรื้อรัง หรือซับซ้อน จำเป็นต้องรักษาหรือได้รับความช่วยเหลือโดยผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยา นักบำบัด  ในทางการแพทย์ อาจมองความโศกเศร้าในมุมของชีววิทยา หรือประสาทวิทยา ความโศกเศร้าอาจรักษาได้ด้วยยาต้านเศร้า เพื่อคืนสมดุลเคมีในสมอง และกลับมาดำเนินชีวิตและทำงานได้ตามปกติ การมองความเศร้าทั้งสองแง่มุมมีส่วนถูก แต่ก็มีข้อจำกัด เพราะในสถานการณ์โรคระบาดที่คนในสังคมเผชิญความสูญเสียขนานใหญ่ …

ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy) Read More »

ชุมชนกรุณาและเมืองกรุณา

ผู้เขียน เอกภพ สิทธิวรรณธนะวันที่เผยแพร่ 2022-4-18 ในการทำงานส่งเสริมสุขภาพแนวดูแลแบบประคับประคอง (Health-Promoting Palliative Care) นอกจากคำว่าชุมชนกรุณา (Compassionate Communities) แล้ว ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มีความหมายใกล้เคียงกันคือเมืองกรุณา (Compassionate Cities) นักปฏิบัติชุมชนกรุณาจึงอาจสงสัยว่าสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร คำทั้งสองถูกเสนอโดย ศ.อาลัน เคเลเฮียร์ (Allan Kellehear) ผู้ก่อตั้ง Public Health Palliative Care International (PHPCI) อันที่จริง คำที่ได้รับการใช้งานก่อนคือ เมืองกรุณา (Compassionate Cities) ปรากฏในหนังสือชื่อ Compassionate Cities: Public Health and end-of-life care ซึ่งมีนิยามดังนี้ [1] “เมืองกรุณา คือชุมชนที่ตระหนักว่าวงจรแห่งสุขภาพและความเจ็บป่วย เกิดและตาย พบพานและสูญเสีย เกิดขึ้นในชีวิตเป็นวัฏจักรธรรมชาติ เมืองกรุณาคือชุมชนที่ตระหนักว่าการดูแลกันและกันในช่วงเวลาวิกฤตและสูญเสีย ไม่ใช่ภาระงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือนักสังคมสงเคราะห์เท่านั้น แต่คือความรับผิดชอบของคนทุกคน เมืองกรุณา คือชุมชนที่ทำงานสาธารณะในการส่งเสริม เอื้ออำนวย สนับสนุน …

ชุมชนกรุณาและเมืองกรุณา Read More »

เรื่องของบัว เรื่องเล่าสื่อสารชุมชนกรุณา

เรื่องของบัว คือนิทานสั้นๆ เรื่องหนึ่งที่ทีมงานใช้สื่อสารแนวคิดชุมชนกรุณา นิทานเรื่องนี้แต่งโดย Milford Care Centre สถานดูแลผู้สูงอายุ และฮอซพิซ ประเทศไอร์แลนด์ ต้นฉบับมีชื่อว่า Bill’s story นิทานเรื่องนี้เข้าใจง่ายดี โครงการชุมชนกรุณา จึงปรับเรื่องเล็กน้อยและวาดภาพประกอบใหม่ให้เข้ากับบริบทไทย

เราจะช่วยให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองได้อย่างไร

การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลปัญหาองค์รวมทางกาย จิตสังคม กฎหมาย และจิตวิญญาณ ที่ผู้ป่วยและครอบครัวต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยที่มีชีวิตเหลือจำกัด ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเข้าถึงการดูแลแบบประคัปประคองจากหลากหลายแหล่งบริการ ทั้งโรงพยาบาล คลินิกผู้ป่วยนอก ฮอซพิซ สถานดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลสุขภาพชุมชน และที่บ้าน การดูแลหหแบบประคับประคองคือพื้นฐานที่ช่วยให้มนุษย์บรรลุสุขภาวะ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิ์พื้นฐานของมนุษย์ การดูแลแบบประคับประคองสามารถเริ่มทำตั้งแต่แรกวินิจฉัย และดูแลควบคู่ไปกับการรักษาตามปกติ (Brennan, F., 2008)

จดหมายข่าวชุมชนกรุณา ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม 2565

เนื้อหาเด่น วงล้อมแห่งการดูแล New Essentials Palliative Care ชูคัตสึ เพื่อนแท้ชื่อความตาย ห้องสมุดผีเสื้อ สมุดภาพเมืองแห่งกรุณา Podcast รายการใหม่ เสียงแห่งความกรุณา ห้องเรียนเบาใจ ดาวน์โหลดได้ที่ http://cocofoundationthailand.org/wp-content/uploads/2022/03/2022-3-จดหมายข่าวฉบับที่-3.pdf อ่านออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ ISUUU https://issuu.com/cocofoundationthailand/docs/2022-3_3

วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care)

เอกภพ สิทธิวรรณธนะ28 กุมภาพันธ์ 2565 ช่วงนี้ผมได้เรียนรู้ตัวอย่างการทำงานชุมชนกรุณาทั้งในและต่างประเทศ ค่อยๆ เห็นกรอบคิดกรอบหนึ่งที่ปรากฏบ่อยๆ ในกิจกรรม แผนงาน โครงการพัฒนาความเข้มแข็งของบุคคลและชุมชนในการรับมือในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้านหรือชุมชน นั่นคือ Circles of Care (วงล้อมแห่งการดูแล) ในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วกำลังเผชิญภาวะสังคมสูงวัยรุนแรง เกิดปัญหาขาดแคลนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ป่วยระยะท้าย ความขาดแคลนดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมากทั้งทางกายและใจ ผู้ป่วยที่มีกำลังจ่ายอาจจะยังพอจ่ายเงินซื้อบริการบ้านพักผู้สูงอายุหรือโรงพยาบาลได้ ส่วนผู้ไม่มีกำลังจ่ายก็ต้องทนทุกข์ ศ. จูเลียน อาเบล (Julian Abel) และคณะ (2013) เสนอว่าภาวะดังกล่าวเป็นทั้งวิกฤตของผู้ป่วยระยะท้าย ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสพลิกฟื้นภูมิปัญญาในการดูแลการตายและความสูญเสียของชุมชน การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้อยู่และตายดีในชุมชนไม่ใช่สิ่งใหม่ หากเป็นสิ่งสามัญที่เคยดำรงอยู่มาก่อนที่การแพทย์สมัยใหม่จะเกิดขึ้น ความทุกข์ของเพื่อนที่กำลังสบตากับความตาย เรียกร้องให้สมาชิกหันมาดูแลใส่ใจกันและกัน ผลลัพธ์จากการสร้างวงล้อมที่โอบอุ้มการดูแลไม่เพียงช่วยให้เพื่อนของเราจากไปอย่างสงบเท่านั้น แต่ยังทำให้เรามั่นใจในการดูแลความทุกข์จากความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสียของตัวเราและคนที่เรารักอีกด้วย ส่วนจะทำอย่างไรนั้น อาเบล เสนอโมเดลในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนกรุณาที่ชื่อว่า วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care) กรอบคิดของ Cilcles of Care นั้นเรียบง่าย เปรียบวงล้อมการดูแลเป็นวงกลมที่โอบกันเป็นชั้น มีจุดศูนย์กลางคือ ผู้เผชิญความทุกข์ ซึ่งในที่นี้คือ ผู้เผชิญความเจ็บป่วยร้ายแรง …

วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care) Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา