ชุมชนกรุณา

บทบาทขององค์กรชุมชนกรุณา/เมืองกรุณา ในการสนับสนุนการดูแลความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสีย

เดือนมีนาคม 2567 ผ่านมา ผมได้ตอบแบบสอบถามคณะวิจัยจาก Bern Switzerlands ในแบบสอบถามถามว่าองค์กร/กลุ่มที่ทำงานชุมชนกรุณาในเมืองต่างๆ ทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับหน้างานต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ ตอบแล้วก็คิดว่าภาคีเครือข่ายคนทำงานสนับสนุนการอยู่ดีตายดีในประเทศไทยเองก็ทำงานหลายอย่างที่ตรงกัน จึงเขียนรายการกิจกรรม/ งาน ที่อยู่ในขอบเขตของงานชุมชนกรุณา (Compassinate Communities) ดังนี้ ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยยังรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์อยู่ครับ ว่ากิจกรรมร่วมขององค์กรในประเทศต่างๆ ที่กำลังขับเคลื่อนชุมชนกรุณาอยู่ ทำอะไรเป็นส่วนใหญ่ อะไรสำคัญมาก อะไรสำคัญน้อย รายการกิจกรรมมีดังนี้ครับ งานผลักดันนโยบาย 1. เป็นสะพานทำงานร่วมระหว่างรัฐและภาคประชาสังคม เติมเต็มนโยบายสาธารณะ 2. ตอบโจทย์ความท้าทายด้านประชากรและสังคมในปัจจุบัน 3. ให้ความสำคัญกับความเคลื่อนไหวของพลเมือง เตือนให้ระลึกถึงคนที่มักถูกลืม ส่งเสียงความต้องการของประชากรกลุ่มต่างๆ 4. พัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชนกรุณา 5. สร้างแรงกระเพื่อมต่อนโยบายสาธารณะ (รวมทั้งนโยบายองค์กร) ติดตามผลกระทบนโยบาย 6. สร้างการรับรู้การดำรง/มีอยู่ของงานชุมชนกรุณา ทำเนื้อหาข้อมูล จัดงานฝึกอบรมให้ประชาชนกลุ่มใหญ่เข้าใจและเข้าถึงชุมชนกรุณาเพิ่มขึ้น 7. พัฒนาความเท่าเทียมทางเพศในงานดูแล ให้แน่ใจว่าการดูแลไม่ใช่งานเฉพาะของผู้หญิงเท่านั้น งานสร้างความตระหนักและความพร้อมของชุมชน 8. ช่วยให้ผู้คนคุ้นเคย ไม่แปลกแยกกับกับประเด็นการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การตาย ผ่านการให้ข้อมูล การสร้างบทสนทนา และประสบการณ์ …

บทบาทขององค์กรชุมชนกรุณา/เมืองกรุณา ในการสนับสนุนการดูแลความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสีย Read More »

เจรจาสร้างความร่วมมือการพัฒนาชุมชนกรุณาด้วยหลักการ K.I.S.S. (Keep It Short and Simple)

การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการอยู่และตายดีตามแนวคิดชุมชนกรุณา ไม่สามารถทำโดยลำพัง ทักษะการสร้างความร่วมมือกับผู้นำจากพันธมิตรจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อระดมคน กำลัง และทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในชุมชน มาเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการตายดีมากขึ้น บทความนี้นำเสนอเทคนิคการสนทนาเพื่อเสนอความร่วมมือกับคนที่เราอยากร่วมงานด้วย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่หวังผลการเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการพูดที่สั้น กระชับ เรียบง่าย (Keep It Short and Simple หรือ K.I.S.S.) แต่ได้ผล สรุปเนื้อหาจากงานอบรมหลักสูตรการออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับกระบวนกรชุมชนกรุณา ที่บ้านไม้หอม พระราม 2 วันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2565 สอนโดย ครูอ้อ หทัยรัตน์ สุดา ทำไมต้อง K.I.S.S. ปัญหาหนึ่งของการเจรจาสร้างความร่วมมือที่พบบ่อยๆ ของผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมักสื่อสารเนื้อหาการทำงานที่มากและนานเกินไปในการเสนองาน ไม่น่าสนใจ จนผู้ที่เราอยากจะขอความร่วมมือจับใจความสำคัญไม่ได้ เป็นนามธรรม สิ่งที่เสนออาจจะยากเกินไปในการร่วมงานด้วย ทำให้พลาดโอกาสที่จะสร้างความร่วมมือ สร้างความรู้จักคุ้นเคย พัฒนาความไว้เนื้อเชื่อใจจนเกิดเป็นความร่วมมือระยะยาว การพัฒนาบทเจรจาสร้างความร่วมมือ การขัดเกลาเนื้อหาการเจรจาและประเด็นขอความร่วมมือให้สั้น กระชับ จำได้ เป็นไปได้ และง่ายที่จะร่วมมือด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเปิดประตูโอกาสในการร่วมมือ …

เจรจาสร้างความร่วมมือการพัฒนาชุมชนกรุณาด้วยหลักการ K.I.S.S. (Keep It Short and Simple) Read More »

ข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีสรุปบทเรียนในการทำงานชุมชนกรุณา

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ2022-6-29 บทความนี้เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการสรุปบทเรียนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่สนับสนุนการอยู่และตายดีในพื้นที่ชุมชนกรุณา เรียบเรียงจากการอบรม Workshop สรุปบทเรียนการทำงานชุมชนกรุณา เพื่อสนับสนุนการอยู่ดี ตายดี วันที่ 17-18 มิถุนายน 2565 ณ บ้านไม้หอม พระราม 2 กรุงเทพ วิทยากรโดย คุณหทัยรัตน์ สุดา หรือครูอ้อ แห่งห้องสมุดผีเสื้อ จ.ศรีสะเกษ กับกระบวนกรชุมชนทั้ง 18 คน จากพื้นที่ปฏิบัติการชุมชนกรุณาหลากพื้นที่ ทำไมต้องสรุปบทเรียนชุมชนกรุณา การทำงานชุมชนกรุณา เช่นเดียวกับงานพัฒนาสังคมอื่นๆ ที่คนทำงานอยากเห็นการทำงานของตนเองพัฒนาขึ้น ทำน้อยแต่ได้มาก ตอกย้ำว่างานของเราสามารถแก้ไขปัญหาได้ บรรลุเป้าหมายของงาน จะบรรลุสิ่งเหล่านี้ กลไกสำคัญหนึ่งในการพัฒนางานและตนเองก็คือการสรุปบทเรียน การไม่สรุปบทเรียน ทำให้เราเจอความผิดพลาดซ้ำๆ อุปสรรคที่มีอยู่ก็อาจจะคงอยู่อย่างนั้น สิ่งคาดหวังยังดูเหมือนห่างไกล แน่นอนว่าการสรุปบทเรียนเป็นสิ่งสำคัญ​ แต่จะทำอย่างไรให้บทเรียนที่สรุปได้ไม่เป็นเพียงงานเอกสาร แต่แผ่ซึมเป็นประสบการณ์ในใจ เปลี่ยนแปลงกรอบคิดหรือวิธีทำงานที่ถูกทิศทางมากขึ้น ขณะเดียวกัน คนทำงานก็ได้พัฒนาตนเอง มีชีวิตชีวา เวิร์คชอปที่ครูอ้อนำการเรียนรู้ได้นำเสนอสิ่งนี้ การสรุปบทเรียน ต้องสร้างสมดุลระหว่าง บทเรียน กับ การเสริมพลังอำนาจผู้ร่วมสรุปบทเรียน …

ข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีสรุปบทเรียนในการทำงานชุมชนกรุณา Read More »

การพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย

เรียบเรียงโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ11 พฤษภาคม 2565 Key Message ความรู้เท่าทันความตาย คือ ชุดความรู้และทักษะที่บุคคลจำเป็นต้องมี เพื่อทำความเข้าใจ เข้าถึงการรับบริการ และตัดสินใจเลือกการดูแลชีวิตช่วงท้ายและการตายของตนเองและผู้ป่วย การพัฒนาความรู้เท่าทันความตายประกอบด้วย การพัฒนาความรู้ ทักษะ ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ และการปฏิบัติทางสังคม ชุมชนกรุณา (Compassionate Communities) เสนอว่าความเจ็บป่วย การตาย การดูแล และความสูญเสีย เป็นธุระที่ไม่อาจฝากไว้ให้บุคลากรสุขภาพและผู้เชี่ยวชาญดูแลแต่เพียงฝ่ายเดียว หากเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนจะต้องมีส่วนรับผิดชอบ (Death is everybody’s business) เมื่อนั้น เราทุกคนจึงสามารถดูแลความเจ็บป่วยช่วงท้าย การตาย และความสูญเสียอย่างมีคุณภาพได้ที่บ้านและชุมชน ลดการพึ่งพิงระบบสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อหลักประการหนึ่งของการสาธารณสุขแห่งการดูแลแบบประคับประคอง (Public Health Palliative Care) ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะท้ายและผู้ดูแลได้ในระดับประชากร อย่างไรก็ตาม การที่เราจะดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การตาย ประคับประคองการดูแลและความสูญเสียได้นั้น บุคคลและชุมชนจำเป็นต้องมีศักยภาพบางประการที่ช่วยให้เราดูแลความทุกข์ที่เกี่ยวเนื่องกับความเจ็บป่วยและความสูญเสียข้างต้นได้ เราเรียกสิ่งนั้นว่า “ความรู้เท่าทันความตาย” (Dealth Literacy) [1] ความรู้เท่าทันความตายคืออะไร แนวคิดความรู้เท่าทันความตาย …

การพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย Read More »

ชุมชนกรุณาและเมืองกรุณา

ผู้เขียน เอกภพ สิทธิวรรณธนะวันที่เผยแพร่ 2022-4-18 ในการทำงานส่งเสริมสุขภาพแนวดูแลแบบประคับประคอง (Health-Promoting Palliative Care) นอกจากคำว่าชุมชนกรุณา (Compassionate Communities) แล้ว ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มีความหมายใกล้เคียงกันคือเมืองกรุณา (Compassionate Cities) นักปฏิบัติชุมชนกรุณาจึงอาจสงสัยว่าสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร คำทั้งสองถูกเสนอโดย ศ.อาลัน เคเลเฮียร์ (Allan Kellehear) ผู้ก่อตั้ง Public Health Palliative Care International (PHPCI) อันที่จริง คำที่ได้รับการใช้งานก่อนคือ เมืองกรุณา (Compassionate Cities) ปรากฏในหนังสือชื่อ Compassionate Cities: Public Health and end-of-life care ซึ่งมีนิยามดังนี้ [1] “เมืองกรุณา คือชุมชนที่ตระหนักว่าวงจรแห่งสุขภาพและความเจ็บป่วย เกิดและตาย พบพานและสูญเสีย เกิดขึ้นในชีวิตเป็นวัฏจักรธรรมชาติ เมืองกรุณาคือชุมชนที่ตระหนักว่าการดูแลกันและกันในช่วงเวลาวิกฤตและสูญเสีย ไม่ใช่ภาระงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือนักสังคมสงเคราะห์เท่านั้น แต่คือความรับผิดชอบของคนทุกคน เมืองกรุณา คือชุมชนที่ทำงานสาธารณะในการส่งเสริม เอื้ออำนวย สนับสนุน …

ชุมชนกรุณาและเมืองกรุณา Read More »

ที่มาและแนวคิดชุมชนกรุณา

ที่มา: การพัฒนาการแพทย์สมัยใหม่ สุขาภิบาล และโภชนาการ ส่งผลให้มนุษย์มีอายุยืนนานขึ้น การแพทย์พัฒนาเทคนิคการยื้อชีวิตให้ยาวนานขึ้น แต่ผลอีกด้านคือ ความทุกข์จากขั้นตอนของการตายของผู้ป่วยถูกทำให้ยืดเยื้อยาวนานมากขึ้นด้วย การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) คือการแพทย์ศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ แนวทางการดูแลสำคัญคือ การช่วยสื่อสารวางแผนสุขภาพช่วงท้าย การจัดการความปวดและอาการทางกายที่ลดทอนคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ทีมสุขภาพซึ่งประกอบด้วยบุคลากรอันหลากหลาย ยังสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในมิติทางใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม การดูแลแบบประคับประคองยังถือเป็นศาสตร์ใหม่ในวงการแพทย์ สังคมไทยยังมีบุคลากรการแพทย์ด้านการดูแลแบบประคับประคองที่ไม่เพียงพอ และยังคงเป็นกระแสรองในการดูแลสุขภาพ สิ่งที่ท้าทายคือ สังคมไทยซึ่งเป็นสังคมผู้สูงอายุ กำลังจะมีผู้ป่วยเรื้อรังและระยะท้ายจำนวนมาก ซึ่งแนวโน้มที่จะเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพแบบประคับประคองในโรงพยาบาล และอาจต้องเผชิญความสูญเสียและความตายโดยลำพัง คำถามคือ เราทุกคนจะมีส่วนช่วยผู้ป่วยและครอบครัวที่กำลังเผชิญความสูญเสียกลุ่มนี้อย่างไรได้บ้าง ชุมชนกรุณามีความสำคัญอย่างไร: ชุมชนกรุณา (Compassionate Communities) คือแนวคิดและปฏิบัติการทางสังคมเชิงส่งเสริมป้องกัน ลดผลกระทบ และสนับสนุนให้บุคคลและชุมชนมีความพร้อมด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ให้สามารถรับมือกับความทุกข์จากความเจ็บป่วย การดูแล การตาย และความสูญเสีย บนพื้นฐานของความกรุณา การสร้างการมีส่วนร่วม การคำนึงถึงนิเวศชุมชน และความเป็นธรรมทางสังคม ชุมชนกรุณา เชื่อว่า ประสบการณ์ความสูญเสียเป็นสิ่งที่ใหญ่และสำคัญเกินกว่าจะมอบหมายให้แพทย์ หรือคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งรับผิดชอบ หากเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบทั้งสองด้าน ด้านแรก …

ที่มาและแนวคิดชุมชนกรุณา Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา