Blog

ข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีสรุปบทเรียนในการทำงานชุมชนกรุณา

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ2022-6-29 บทความนี้เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการสรุปบทเรียนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่สนับสนุนการอยู่และตายดีในพื้นที่ชุมชนกรุณา เรียบเรียงจากการอบรม Workshop สรุปบทเรียนการทำงานชุมชนกรุณา เพื่อสนับสนุนการอยู่ดี ตายดี วันที่ 17-18 มิถุนายน 2565 ณ บ้านไม้หอม พระราม 2 กรุงเทพ วิทยากรโดย คุณหทัยรัตน์ สุดา หรือครูอ้อ แห่งห้องสมุดผีเสื้อ จ.ศรีสะเกษ กับกระบวนกรชุมชนทั้ง 18 คน จากพื้นที่ปฏิบัติการชุมชนกรุณาหลากพื้นที่ ทำไมต้องสรุปบทเรียนชุมชนกรุณา การทำงานชุมชนกรุณา เช่นเดียวกับงานพัฒนาสังคมอื่นๆ ที่คนทำงานอยากเห็นการทำงานของตนเองพัฒนาขึ้น ทำน้อยแต่ได้มาก ตอกย้ำว่างานของเราสามารถแก้ไขปัญหาได้ บรรลุเป้าหมายของงาน จะบรรลุสิ่งเหล่านี้ กลไกสำคัญหนึ่งในการพัฒนางานและตนเองก็คือการสรุปบทเรียน การไม่สรุปบทเรียน ทำให้เราเจอความผิดพลาดซ้ำๆ อุปสรรคที่มีอยู่ก็อาจจะคงอยู่อย่างนั้น สิ่งคาดหวังยังดูเหมือนห่างไกล แน่นอนว่าการสรุปบทเรียนเป็นสิ่งสำคัญ​ แต่จะทำอย่างไรให้บทเรียนที่สรุปได้ไม่เป็นเพียงงานเอกสาร แต่แผ่ซึมเป็นประสบการณ์ในใจ เปลี่ยนแปลงกรอบคิดหรือวิธีทำงานที่ถูกทิศทางมากขึ้น ขณะเดียวกัน คนทำงานก็ได้พัฒนาตนเอง มีชีวิตชีวา เวิร์คชอปที่ครูอ้อนำการเรียนรู้ได้นำเสนอสิ่งนี้ การสรุปบทเรียน ต้องสร้างสมดุลระหว่าง บทเรียน กับ การเสริมพลังอำนาจผู้ร่วมสรุปบทเรียน …

ข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีสรุปบทเรียนในการทำงานชุมชนกรุณา Read More »

ชุมชนกรุณาเพื่อการตายดี

เขียนโดย พระไพศาล วิสาโล ทุกครั้งที่มีการตั้งคำถามถึงความตายที่พึงปรารถนา  คนส่วนใหญ่จะตอบว่า “ตายดี”  แต่ก็น่าสงสัยว่าผู้คนทั้งหลายครุ่นคิดถึงเรื่องนี้เพียงใด  ส่วนใหญ่ใช้ชีวิต เวลาและทรัพยากรที่มีเพื่อการ “อยู่ดี”มากกว่า มีน้อยคนมากที่จริงจังกับการเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อการตายดี  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมองว่าความตายเป็นเรื่องไกลตัว ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วมันเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก เพราะเราทุกคนมีโอกาสที่จะตายได้ตลอดเวลา  ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันอย่างเต็มร้อยว่าเราจะมีชีวิตถึงวันพรุ่งนี้  ในเมื่อทัศนคติของผู้คนเป็นเช่นนี้  จึงไม่น่าแปลกใจที่เมืองไทยทุกวันนี้ให้ความสำคัญน้อยมากกับการส่งเสริมให้เกิดการตายดีในระดับสังคม  การตายดีกลายเป็นเรื่องที่แต่ละคนหรือแต่ละครอบครัวต้องขวนขวายกันเอง และมักจะตื่นตัวเรื่องนี้ต่อเมื่อคนใกล้ตัวป่วยหนักหรือกำลังจะสิ้นลม  ผลก็คือผู้คนจำนวนมากตายด้วยความทุกข์ทรมานเพราะไม่เคยมีการเตรียมตัวในเรื่องนี้เลย  หรือไม่มีเวลาเตรียมตัวที่มากพอ จึงขาดปัจจัยสนับสนุนที่จะช่วยให้การตายดีเกิดขึ้นได้  ใช่แต่เท่านั้นความทุกข์ยังตกอยู่แก่ลูกหลานญาติพี่น้องที่ดูแลคนรักทั้งระหว่างที่เจ็บป่วยและหลังจากสิ้นลมแล้ว มีทั้งความเศร้าโศก กลัดกลุ้ม และรู้สึกผิดที่เห็นคนรักของตัวตายด้วยความทุกข์ทรมาน  การตายดีจะเกิดขึ้นได้นอกจากอาศัยความรู้ความเข้าใจในความจริงของชีวิต จนเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว ทัศนคติและทักษะในการน้อมใจผู้ป่วยให้เกิดความสงบในวาระสุดท้ายก็สำคัญ แต่ที่มองข้ามไปไม่ได้ก็คือ การดูแลผู้ป่วยในทางกายเพื่อช่วยให้สุขสบาย ไม่ถูกรบกวนด้วยความเจ็บปวด โดยไม่เพิ่มความทุกข์ให้มากขึ้น (ซึ่งมักมาพร้อมกับเทคโนโลยีนานาชนิดที่มุ่งยื้อชีวิตผู้ป่วยให้ยืนยาวที่สุด)  องค์ความรู้ เทคโนโลยี อุปกรณ์ ตลอดจนสถานที่ และบุคลากร ที่จะช่วยให้เหตุปัจจัยดังกล่าวเกิดขึ้นได้ บ่อยครั้งเป็นเรื่องสุดวิสัยที่ครอบครัวของผู้ป่วยจะจัดหามาให้ครบถ้วนเพื่อช่วยให้การตายดีเกิดขึ้นได้  หลายครอบครัวอาศัยเครือข่ายญาติมิตรของตนช่วยจัดหามาให้ อีกทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากบุคลากรด้านสุขภาพ (ซึ่งมักมีงานล้นมือจนบางครั้งก็ช่วยได้ไม่เต็มที่) ด้วยการร่วมแรงร่วมใจดังกล่าวผู้ป่วยหลายคนจึงจากไปอย่างสงบ  อย่างไรก็ตามมีครอบครัวจำนวนมากที่ไม่สามารถช่วยให้คนรักของตนจากไปอย่างสงบได้ เพราะมีอุปสรรคในการเข้าถึงทรัพยากรดังกล่าว (ยังไม่ต้องพูดถึงอีกจำนวนมากที่ไม่ได้นึกถึงการตายดีเลย เพราะคิดแต่จะยื้อชีวิตผู้ป่วยให้ยืนยาวที่สุด)  ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่านั้นก็คือ ครอบครัวเหล่านี้นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสังคมไทยกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ …

ชุมชนกรุณาเพื่อการตายดี Read More »

การพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย

เรียบเรียงโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ11 พฤษภาคม 2565 Key Message ความรู้เท่าทันความตาย คือ ชุดความรู้และทักษะที่บุคคลจำเป็นต้องมี เพื่อทำความเข้าใจ เข้าถึงการรับบริการ และตัดสินใจเลือกการดูแลชีวิตช่วงท้ายและการตายของตนเองและผู้ป่วย การพัฒนาความรู้เท่าทันความตายประกอบด้วย การพัฒนาความรู้ ทักษะ ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ และการปฏิบัติทางสังคม ชุมชนกรุณา (Compassionate Communities) เสนอว่าความเจ็บป่วย การตาย การดูแล และความสูญเสีย เป็นธุระที่ไม่อาจฝากไว้ให้บุคลากรสุขภาพและผู้เชี่ยวชาญดูแลแต่เพียงฝ่ายเดียว หากเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนจะต้องมีส่วนรับผิดชอบ (Death is everybody’s business) เมื่อนั้น เราทุกคนจึงสามารถดูแลความเจ็บป่วยช่วงท้าย การตาย และความสูญเสียอย่างมีคุณภาพได้ที่บ้านและชุมชน ลดการพึ่งพิงระบบสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อหลักประการหนึ่งของการสาธารณสุขแห่งการดูแลแบบประคับประคอง (Public Health Palliative Care) ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะท้ายและผู้ดูแลได้ในระดับประชากร อย่างไรก็ตาม การที่เราจะดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การตาย ประคับประคองการดูแลและความสูญเสียได้นั้น บุคคลและชุมชนจำเป็นต้องมีศักยภาพบางประการที่ช่วยให้เราดูแลความทุกข์ที่เกี่ยวเนื่องกับความเจ็บป่วยและความสูญเสียข้างต้นได้ เราเรียกสิ่งนั้นว่า “ความรู้เท่าทันความตาย” (Dealth Literacy) [1] ความรู้เท่าทันความตายคืออะไร แนวคิดความรู้เท่าทันความตาย …

การพัฒนาความรู้เท่าทันความตาย Read More »

ความตายวาดได้ ศิลปะสู่พื้นที่เรียนรู้ความตาย || ชุมชนกรุณาศึกษา

ปฏิบัติการชุมชนกรุณา เชิญทุกคนเข้ามามีบทบาทสร้างพื้นที่เรียนรู้ความเจ็บป่วย ความตาย การดูแล และความสูญเสีย ตามความถนัด ความสนใจ บทบาทของตนเองที่เป็นอยู่ ดังเช่นการทำงานของแอนโทเนีย โรลส์ (Antonia Rolls) ศิลปินหญิงผู้วาดการตายและจัดแสดงงานศิลปะ แอนโทเนีย เป็นศิลปินวาดภาพบุคคล เธอกล่าวว่าเธอไม่รู้ว่าความตายเป็นอย่างไร จนกระทั่ง ปี 2007 สตีฟ สามีของเธอป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เธอตระหนักถึงความตายว่าเป็นความจริง เธอไม่เคยเตรียมใจรับความพลัดพรากเช่นนี้มาก่อน ประสบการณ์การดูแล การตาย และความสูญเสียเป็นประสบการณ์ใหม่ สิ่งหนึ่งที่แอนโทเนียใช้เป็นเครื่องมือในการอยู่กับสภาวะที่ปั่นป่วนนี้ คือการวาดภาพสามีของเธอที่กำลังเสื่อมถอยและกำลังจะตาย เพราะเธอคิดว่า อาจมีคนอื่นๆ ที่อยากรู้จักสภาวะของการเผชิญความตายเช่นนี้เพื่อเตรียมใจ และภาพวาดบุคคลแบบสมจริงที่แสดงอาการใกล้ตายของสตีฟ น่าจะทำให้คนอื่นๆ ได้ทำความรู้จักความตายมากขึ้น และทำให้เรื่องนี้ปรากฏในชีวิตประจำวันของผู้คน เธอวาดภาพเหมือนของสตีฟทั้งส่วนที่เป็นกายภาพ (เช่น ความร่วงโรย กล้ามเนื้อที่ค่อยๆ เสื่อมลง กระดูกที่เห็นชัดขึ้น) และส่วนที่เป็นอารมณ์ที่สะท้อนบนใบหน้า รวมทั้งสีหรือสัญลักษณ์ที่แสดงอารมณ์ขัน หรือความโศกเศร้า ที่เธอสัมผัสได้ในช่วงนั้นๆ ในวันที่สตีฟเสียชีวิต แอนโทเนียยังวาดการตายของเขาไว้ด้วย เธอยังบันทึกแง่มุมความงดงามของความป่วยและความตายที่เธอเห็นลงในภาพ นั่นทำให้ผลงานของเธอเป็นบันทึกชั่วขณะแห่งการอยู่ด้วยกันกับความเจ็บป่วย การตาย ระหว่างศิลปิน ผู้ป่วย และผู้ดูแลหลังจากสตีฟจากไป แอนโทเนียจัดแสดงผลงานของเธอในบ้าน มีผู้ป่วยเข้ามาเยี่ยมชมและขอให้แอนโทเนียวาดพวกเขาด้วยเทคนิคเดียวกัน …

ความตายวาดได้ ศิลปะสู่พื้นที่เรียนรู้ความตาย || ชุมชนกรุณาศึกษา Read More »

ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy)

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2565 Key Message ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy) คือศักยภาพในการรับมือความโศกเศร้าจากความสูญเสีย ประกอบด้วยความรู้ ทักษะปฏิบัติ และคุณค่าที่สนับสนุนการรับมือ การสร้างความรู้เท่าทันความโศกเศร้า คือการเสริมสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติของบุคคลและเครือข่ายต่างๆ ของชุมชน ให้มีความสามารถในการดูแลความสูญเสีย เน้นการทำงานเชิงส่งเสริมป้องกันมากกว่าการบำบัด ความโศกเศร้า ความโศกเศร้า (Grief) คือประสบการณ์ความทุกข์หลังการสูญเสียสิ่งที่มีความสำคัญโดย โดยเฉพาะบุคคลที่มีความผูกพันและมีความหมาย [1] อาจรวมถึงการสูญเสียอวัยวะ การงาน วิถีชีวิตปกติ การสูญเสียคุณค่าสำคัญที่บุคคลยึดถือ รวมถึงการรับรู้ว่าชีวิตของตนเหลืออยู่จำกัดอันเนื่องจากความเจ็บป่วยและการตาย ความโศกเศร้ามองได้หลายแง่มุม ในมุมจิตวิทยา เราอาจมองว่าความโศกเศร้าคือปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังความสูญเสียของปัจเจกบุคคล ผู้สูญเสียจะใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อรับมือกับความเศร้าในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยมีปลายทางคือการฟื้นคืนสมดุลชีวิต และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ความเศร้าที่ผิดปกติ เรื้อรัง หรือซับซ้อน จำเป็นต้องรักษาหรือได้รับความช่วยเหลือโดยผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยา นักบำบัด  ในทางการแพทย์ อาจมองความโศกเศร้าในมุมของชีววิทยา หรือประสาทวิทยา ความโศกเศร้าอาจรักษาได้ด้วยยาต้านเศร้า เพื่อคืนสมดุลเคมีในสมอง และกลับมาดำเนินชีวิตและทำงานได้ตามปกติ การมองความเศร้าทั้งสองแง่มุมมีส่วนถูก แต่ก็มีข้อจำกัด เพราะในสถานการณ์โรคระบาดที่คนในสังคมเผชิญความสูญเสียขนานใหญ่ …

ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy) Read More »

ชุมชนกรุณาและเมืองกรุณา

ผู้เขียน เอกภพ สิทธิวรรณธนะวันที่เผยแพร่ 2022-4-18 ในการทำงานส่งเสริมสุขภาพแนวดูแลแบบประคับประคอง (Health-Promoting Palliative Care) นอกจากคำว่าชุมชนกรุณา (Compassionate Communities) แล้ว ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มีความหมายใกล้เคียงกันคือเมืองกรุณา (Compassionate Cities) นักปฏิบัติชุมชนกรุณาจึงอาจสงสัยว่าสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร คำทั้งสองถูกเสนอโดย ศ.อาลัน เคเลเฮียร์ (Allan Kellehear) ผู้ก่อตั้ง Public Health Palliative Care International (PHPCI) อันที่จริง คำที่ได้รับการใช้งานก่อนคือ เมืองกรุณา (Compassionate Cities) ปรากฏในหนังสือชื่อ Compassionate Cities: Public Health and end-of-life care ซึ่งมีนิยามดังนี้ [1] “เมืองกรุณา คือชุมชนที่ตระหนักว่าวงจรแห่งสุขภาพและความเจ็บป่วย เกิดและตาย พบพานและสูญเสีย เกิดขึ้นในชีวิตเป็นวัฏจักรธรรมชาติ เมืองกรุณาคือชุมชนที่ตระหนักว่าการดูแลกันและกันในช่วงเวลาวิกฤตและสูญเสีย ไม่ใช่ภาระงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือนักสังคมสงเคราะห์เท่านั้น แต่คือความรับผิดชอบของคนทุกคน เมืองกรุณา คือชุมชนที่ทำงานสาธารณะในการส่งเสริม เอื้ออำนวย สนับสนุน …

ชุมชนกรุณาและเมืองกรุณา Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา