เอกภพ สิทธิวรรณธนะ

ระบบความตาย (1): ศาสนาปรัชญา และประวัติศาสตร์ของระบบความตาย

บันทึกการสนทนาเรียนรู้ระบบความตาย กิจกรรม PHPC Group Read วันที่ 12 ส.ค. 2567 ส่วนที่ 3-5 ระบบความตาย ฐานปรัชญาและศาสนาของระบบความตาย และต้นกำเนิดทางประวัติศาสตร์ของระบบความตาย ระบบความตาย เป็นประเด็นหลักที่คณะกรรมการ Lancet ศึกษาประเด็นคุณค่าของความตาย ตีพิมพ์รายงานในปี 2022 ที่ผ่านมา [อ่านรายงานได้ที่นี่] และศึกษาที่เว็บไซต์ของรายงานได้ที่ valueofdeath.org ระบบความตาย คือแนวคิดที่คณะวิจัยหลากหลายสาขากลุ่มการสาธารณสุขการดูแลแบบประคับประคอง ร่วมกันเสนอว่า การจะทำความเข้าใจการพัฒนาคุณภาพชีวิตช่วงท้าย การตาย และความสูญเสีย จำเป็นต้องเข้าใจเครือข่ายและกระแสเหตุปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อการดูแล ระบบความตาย หมายถึงเครือข่ายระหว่างบุคคล กายภาพ สังคม และสัญลักษณ์ ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหวางมนุษย์กับความตาย ระบบความตายนั่นเองที่กำหนดว่าความตายและการตายจะถูกเข้าใจ ควบคุม และจัดการอย่างไร กำหนดว่าคนๆ หนึ่งจะตายที่ไหน จะตายอย่างไร ครอบครัวต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ศพจะถูกจัดการอย่างไร ผู้คนจะแสดงความโศกเศร้าอาลัยอย่างไร และความตายมีความหมายอย่างไรในสัคมและชุมชน ระบบความตายก็เหมือนระบบอื่นๆ คือเปลี่ยนแปลงได้โดยสังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ และการเมือง ส่วนประกอบในระบบความตาย วิธีทำความเข้าใจระบบความตาย …

ระบบความตาย (1): ศาสนาปรัชญา และประวัติศาสตร์ของระบบความตาย Read More »

บทบาทของเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่ไม่เป็นทางการ ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง PHPC Group Read EP7

บันทึกการกิจกรรมอ่านกลุ่ม บทบาทของเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่ไม่เป็นทางการ ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง PHPC Group Read EP7 วันที่ 27 กรกฎาคม 2567 บทบาทของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเป็นของทุกคน แต่ที่ผ่านมา สังคมอาจคาดหวังให้บุคลากรวิชาชีพมีบทบาทหลัก เพราะมีความรู้ความเชี่ยวชาญมากกว่า แต่ความเป็นจริงคือ การดูแลส่วนใหญ่มักอยู่ในมือของครอบครัว เพื่อน ญาติสนิท เพื่อนร่วมงาน เราเรียกกลุ่มนี้ว่า “เครือข่ายการดูแลที่ไม่เป็นทางการ” ซึ่งต่างจากกลุ่มแรกที่เป็นเครือข่ายการดูแลที่เป็นทางการ และได้รับค่าตอบแทนจากระบบบริการสุขภาพ ที่ผ่านมา งานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบบริการดูแลแบบประคับประคอง มักสนใจเครือข่ายการดูแลที่เป็นทางการ เพราะสามารถเก็บข้อมูลได้ง่ายกว่า มีตัวเลขและหลักฐานเชิงประจักษ์มากกว่า จึงยังขาดความเข้าใจเครือข่ายการดูแลที่ไม่เป็นทางการ บทความเรื่อง “The evidence of the importance of informal care networks (ICN)” พูดถึงความสำคัญของเครือข่ายการดูแลไม่เป็นทางการ โดยเสนอประเด็นว่า ผู้ป่วยระยะท้ายจะมี ICN อยู่เสมอ โดยเฉพาะในสภาพสังคมสูงวัยที่จำนวนผู้สูงอายุมีมากกว่าสถานบริการสุขภาพจะรองรับได้ ภาครัฐจึงสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาดูแลที่บ้านมากขึ้น ลักษณะสำคัญของเครือข่ายการดูแลที่ไม่เป็นทางการ ผู้ป่วยแต่ละคนมี ICN ไม่เหมือนกัน คุณลักษณะของ ICN ได้แก่ …

บทบาทของเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่ไม่เป็นทางการ ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง PHPC Group Read EP7 Read More »

บทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ ในการพัฒนาระบบชีวาภิบาล

ทำไม สสจ./ สสอ.จึงมีความสำคัญกับระบบชีวาภิบาล ระบบชีวาภิบาล คือการเชื่อมโยงระบบบริการระหว่างโรงพยาบาลทุกระดับ จนถึง ชุมชน  เพื่อเป้าหมายในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และผู้ป่วยระยะประคับประคอง งานอภิบาลระบบ หรือการพัฒนาระบบ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ในงานนี้เจ้าหน้าที่สาธาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ เป็นผู้เล่นและพันธมิตรสำคัญในการขับเคลื่อนระบบ ความท้าทายงานชีวาภิบาล 1. การพัฒนาบุคลากรทั้งภายในองค์กรกระทรวงสาธารณสุขให้เกิดความรู้ความเข้าใจในระบบชีวาภิบาล 2. การสร้างความยั่งยืน โดยให้หน่วยงานอื่น/หน่วยงานภาคีเครือข่าย ( ชุมชน ท้องถิ่น หน่วยบริการสุขภาพทั้งเอกชนและรัฐบาล) เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบระบบบริการ ให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่หน่วยโดยการวางเป้าหมายร่วม ตามภารกิจของหน่วยงานนั้น 3. การจัดการข้อมูล ตามกลุ่มเป้าหมาย (Data Center) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา วางแผนยุทธศาสตร์และออกแบบระบบบริการให้สอดคล้องกับบริบท 4. การส่งเสริมให้ประชาชน มีความรอบรู้ ด้านสุขภาพ เพื่อการดูแลตนเอง การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และผู้ป่วยระยะประคับประคอง บทบาทหน้าที่ สสจ.สสอ. ในงานชีวาภิบาล 1. ศึกษานโยบาย เป้าหมาย กระบวนการทำงาน ด้านการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และระยะประคับประคอง ระดับประเทศ และเขตสุขภาพพื้นที่  2. …

บทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ ในการพัฒนาระบบชีวาภิบาล Read More »

มุมมองทางเศรษฐศาสตร์กับแนวทางการดูแลแบบประคับประคอง PHPC Group Read EP6

บันทึกการกิจกรรมอ่านกลุ่ม มุมมองทางเศรษฐศาสตร์กับแนวทางการดูแลแบบประคับประคอง PHPC Group Read EP5 ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ช่วยอธิบาย ทำความเข้าใจพฤติกรรมสุขภาพของแต่ละบุคคล ส่วนในทางนโยบาย มุมมองทางเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญในการตัดสินใจพัฒนาและเลือกนโยบายสุขภาพในระดับประชากร เศรษฐศาสตร์สุขภาพมีแนวคิดว่า สังคมมีทรัพยากรในการดูแลสุขภาพจำกัด เพื่อตอบสนอความต้องการของสุขภาพที่ไม่จำกัด ดังนั้น จึงต้องเลือกวิธีการดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการสุขภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนจำนวนมากที่สุด เศรษฐศาสตร์สุขภาพแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์ทั่วไป เพราะสินค้าสุขภาพแตกต่างจากสินค้าทั่วไป กลไกการตลาดอาจใช่ไม่ได้กับสินค้าด้านสุขภาพ เพราะสินค้าสุขภาพมีความซับซ้อนสูง ประชาชนมีข้อมูลจำกัดในการตัดสินใจซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพบางตัวก็ต้องซื้อโดยรัฐ เช่น วัคซีนที่ต้องพัฒนาความร่วมมือกับนานาชาติ การแทรกแซงสุขภาพบางอย่างก็ใช้ต้นทุนการผลิตสูงและไม่ให้ผลตอบแทนในทันที เช่น กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนั้น รัฐ ในฐานะที่เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าสุขภาพมากกว่า และรัฐมีหน้าที่คุ้มครองสุขภาพของประชาชน จึงจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซงตลาด ด้วยการสนับสนุนงบประมาณในผลิตภัณฑ์หรือบริการสุขภาพที่ให้ความคุ้มค่า ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี ความท้าทายในการใช้มุมมองทางเศรษฐศาสตร์ต่อการวางแผนด้านสาธารณสุข แม้มุมมองทางเศรษฐศาสตร์จะมีความจำเป็นต่อการพัฒนานโยบายสุขภาพ แต่ก็มีความท้าทายหลายประการ การเก็บข้อมูลค่าใช้จ่าย มีการเก็บอย่างเข้มข้นและเป็นระบบในระบบบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) แต่มุมมองการดูแลสุขภาพในปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไปอยู่ครอบครัวและชุมชนมากขึ้น ซึ่งไม่มีการเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายที่เป็นระบบและครบถ้วนมากนัก ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ไม่มีข้อมูลค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนด้านสุขภาพที่ครบถ้วนสำหรับการวางแผนนโยบายสุขภาพ วัฒนธรรมการวางแผนนโยบายที่ไม่ได้มาจากหลักฐานเชิงประจักษ์​ แต่มาจากความคิดความเชื่อของผู้บริหาร และเจตนารมย์ทางการเมืองที่ไม่ได้อยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ ความขาดแคลนนักเศรษฐศาสตร์สุขภาพ และมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ในการตัดสินใจนโยบายโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น ข้อมูลป้อนกลับ หรือผลลัพธ์ด้านสุขภาพจากการวางแผนนโยบายมักใช้เวลายาวนานกว่าจะเห็นผล …

มุมมองทางเศรษฐศาสตร์กับแนวทางการดูแลแบบประคับประคอง PHPC Group Read EP6 Read More »

การใช้เครื่องมือปฏิบัติการชุมชนกรุณา บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP5 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ เสาร์ที่ 29 มิ.ย. 67 กลุ่ม Group Read ชวนอ่านบทความจากตำรา Public Health Palliative Care หัวข้อ Using and building toolkits to support community action บทความนี้พูดถึงการสร้างและใช้เครื่องมือสนับสนุนปฏิบัติการชุมชน จากหลากหลายประเทศ ถอดบทเรียนประเด็นสำคัญของชุดเครื่องมือของประเทศต่างๆ ให้ผู้อ่านได้นำไปพัฒนาแนวทางการทำเครื่องมือสนับสนุนงานชุมชนกรุณาในพื้นที่/ประเด็นของตนเอง อะไรคือเครื่องมือ? ชุดเครื่องมือการทำงาน คือตัวกลาง/สื่อกลาง ระหว่าง แนวคิด/ทฤษฎี/เนื้อหาความรู้ กับปฏิบัติการในโลกแห่งความเป็นจริง ช่องว่างระหว่างโลกทฤษฎีกับปฏิบัตินั้นกว้างขวาง เพราะคนทำงานส่วนใหญ่ไม่ใช่นักทฤษฎี อาจะไม่ได้อ่านงานวิชาการต้นฉบับ จึงต้องการตัวช่วยหรือเครื่องมือทำงาน เพื่อให้โลกความเป็นจริงเข้าใกล้สิ่งที่ควรจะเป็นตามแนวคิดทฤษฎี ตัวอย่างเช่น โจทย์ = ทำอย่างไรให้นักสาธารณสุขเข้าใจสุขภาพชุมชนแนวคิด = การเข้าใจสุขภาพชุมชน ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ชุมชน เข้าใจภูมิประเทศของชุมชนที่ส่งผลต่อสุขภาพ ฯลฯโลกความจริง = ชุมชนแห่งหนึ่งเครื่องมือ = เครื่องมือ 7 ชิ้น โจทย์ …

การใช้เครื่องมือปฏิบัติการชุมชนกรุณา บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP5 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care Read More »

การดูแลแบบประคับประคองกับความเป็นธรรมทางสังคมในกลุ่มเปราะบาง บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP4 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care

วันที่ 31 พ.ค. 2567 กลุ่ม Group Read อ่านบทความตำรา Public Health Palliative Care หัวข้อ Public Health Palliative Care, equity-oriented care, and structural vulnerability มีผู้สนใจเข้าร่วมอภิปรายประเด็นการดูแลแบบประคับประคองกับกลุ่มเปราะบาง กลุ่มชายขอบ เพื่อสร้างระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากการพัฒนาระบบสุขภาพมักพัฒนาขึ้นจากมุมมองของคนที่พัฒนาระบบ ซึ่งมีภูมิหลัง ความเชื่อทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนกลุ่มใหญ่ ระบบจึงถูกออกแบบมาให้สะดวกสบาย สอดคล้องกับวิถีคนกลุ่มใหญ่ ทั้งมิติคุณค่า วัฒนธรรม ภาษา ซึ่งอาจกีดกันหรือลืมนึกถึงกลุ่มคนที่แตกต่างจากกลุ่มคนที่พัฒนาระบบ และเสียเปรียบจากระบบ (เช่น มีค่าใช้จ่ายมากกว่า ออกแรงมากกว่า พบกับความไม่สะดวกสบายมากกว่าในการเข้าถึงบริการสุขภาพ) ในบทความ จะขอเรียกคนกลุ่มนี้ว่ากลุ่มเปราะบาง ซึ่งไม่ได้หมายถึงกลุ่มที่มีจิตใจหรือร่างกายบอบบาง แต่เป็นกลุ่มที่ประสบความทุกข์ยากจากความเหลื่อมล้ำและความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ถูกลดทอนศักดิ์ศรี กีดกันมายาวนาน คนกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลใส่ใจที่เฉพาะ เพื่อให้ได้รับคุณภาพชีวิตในขั้นที่เทียบเท่าตามมาตรฐานของผู้รับบริการส่วนใหญ่ ตรงนี้ หากผู้พัฒนาละเลยการหยิบยกประเด็นความเป็นธรรมทางสังคมและกลุ่มเปราะบางมาพิจารณาอย่างสม่ำเสมอ ก็จะมีกลุ่มที่ตกหล่นหรือถูกกีดกันออกจากระบบการดูแลสุขภาพโดยไม่ตั้งใจ คนกลุ่มนี้แม้จะมีเปอร์เซ็นต์น้อยใจภาพรวม แต่ถ้านับจำนวนก็อาจมีจำนวนมาก (เช่น คนพิการทั่วประเทศ …

การดูแลแบบประคับประคองกับความเป็นธรรมทางสังคมในกลุ่มเปราะบาง บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP4 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care Read More »

นิเวศการเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การตาย และความสูญเสีย: ข้อเสนอเชิงโยบาย

ความรู้ทักษะที่ช่วยให้บุคคลๆ หนึ่ง สามารถดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการตายดีสำหรับดูแลตนเองและคนรอบข้าง ไม่อาจเกิดขึ้นจากสุญญากาศ แต่จำเป็นต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนการเรียนรู้ เพื่อให้บุคคลๆ หนึ่ง มีความรู้เท่าทันการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย (End of Life Literacy) ผู้เขียนขอใช้แนวคิดวงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care) มาปรับเป็นวงล้อมแห่งการเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การตาย และความสูญเสีย (Circles of End of Life care Learning) โดยแต่ละระดับชั้นการเรียนรู้มีดังนี้ 1) การเรียนรู้ภายในตัวบุคคล (Self Learning Level) บุคคลเรียนรู้การดูแลความเจ็บป่วย ความตาย และความสูญเสีย จากประสบการณ์ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ของตัวเอง (ประสบการณ์เฉียดตาย ประสบการณ์เจ็บป่วย และประสบการณ์สูญเสีย) 2) การเรียนรู้จากบุคคลใกล้ชิด (Inner Network Learning) คือการเรียนรู้จากการสัมผัส พบเห็น และดูแลคนใกล้ชิด การเรียนรู้จากการสั่งสอนอบรม เรื่องเล่า จากคนใกล้ชิด การเรียนรู้จากการสังเกตการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการดูแลการตาย 3) การเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อน (Outer …

นิเวศการเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การตาย และความสูญเสีย: ข้อเสนอเชิงโยบาย Read More »

การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลแบบประคับประคอง บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP3 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care

ด้วยเหตุที่ผู้ป่วยด้วยโรคคุกคามชีวิตทุกคนควรเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง แต่ประชาชนจำนวนมากยังไม่รู้จักแนวทางนี้ สังคมจึงจำเป็นต้องใช้กระบวนวิธี “การสร้างเสริมสุขภาพ” มาร่วมผลักดันการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อให้การตายดีเข้าถึงได้ในระดับประชากร ประเด็นสำคัญในบทความ การดูแลแบบประคับประคอง เกิดขึ้นในบริบทของการให้บริการสุขภาพ (Service Delivery) ในโรงพยาบาลหรือสถานดูแลผู่ป่วยระยะท้าย แต่เมื่อบุคลากรเห็นข้อจำกัดของระบบบริการสุขภาพ กำลังคน งบประมาณ และบริบทการดูแล จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้ประชาชนเรียนรู้แนวทาง และมีทักษะการดูแลชีวิตช่วงท้ายและการตายของตนเอง รวมทั้งการสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจแนวทางการดูแลแบบประคับประคองแต่เนิ่นๆ ในแง่นี้ รัฐบาลท้องถิ่นและระดับชาติ จึงควรพิจารณาใช้การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) มาร่วมกับการขยายการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ ได้รับการรับรองและสนับสนุนโดยสมัขชาสุขภาพองค์การอนามัยโลก ผ่านกฎบัตรอัตตาวา (Ottawa Chartoer for Health Promotion) ปี 1988 ซึ่งหลายประเทศรวมทั้งไทย นำมาใช้เป็นแนวทางสร้างเสริมสุขภาพ ดังการทำงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขบวนการสร้างชุมชนสุขภาวะ รวมทั้งเครือข่ายชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน (Strengthen Community Action) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal Skill) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ …

การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลแบบประคับประคอง บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP3 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care Read More »

การผลักดันนโยบาย Palliative Care บันทึกสรุปจากกิจกรรม Group Read EP2 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care

บันทึกโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ เมื่อทุกคนจำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตช่วงท้ายที่ดีและจากไปอย่างสงบ ทั่วถึงและเท่าเทียม การผลักดันนโยบายให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐจึงจำเป็น ประเด็นสำคัญในบทความ การพัฒนาบริการการดูแลแบบประคับประคองให้ครอบคลุมนั้น ต้องอาศัยอำนาจรัฐช่วยผสานการดูแลแบบประคับประคองเข้าสู่ระบบสุขภาพทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับปฐมภูมิ เนื่องจากการดูแลนี้เชื่อมโยงกับการใช้ยาบรรเทาปวดที่มีฤทธิ์เสพติด และการดูแลแบบประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงท้ายและตายอย่างสงบ เป็นสิทธิมนุษยชน เอกชนและชุมชนยังไม่สามารถให้บริการนี้ด้วยตนเองได้อย่างครอบคลุม บทความนี้ย้ำหลายครั้งว่า การดูแลแบบประคับประคองเป็นสิทธิ์พื้นฐาน (Rights) ไม่ใช่สิทธิ์พิเศษ (Priviledge) อุปสรรคสำคัญของการผลักดันงานดูแลแบบประคับประคอง คือ การรักษาดูแลสุขภาพกระแสหลัก ยังมุ่งการรักษาและผลกำไร มากกว่า ระบบสุขภาพที่ให้บริการอย่างเท่าเทียมต่อความต้องการที่ถูกละเลยมากที่สุด (การรักษาสำคัญกว่าการดูแล ซึ่งเป็นงานระยะยาว อยู่ในมือของชาวบ้าน และไม่ทำกำไร – ผู้บันทึก) บทความนี้เสนอหลักปฏิบัติในการผลักดันนโยบาย 5 ประการ ได้แก่ หลักเอกภาพ (Solidarity) หลักการมีส่วนร่วม (Participatory) หลักสิทธิ์และหน้าที่ (Rights and responsibilities) หลักกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น (Subsediarity) หลักความใกล้ชิด (Proximity) หลักเอกภาพ (Solidarity)  ให้ความสำคัญกับการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เสาะแสวงหาว่าใครตกหล่นจากการดูแลคุณภาพชีวิตช่วงท้าย เสริมสร้างพลังอำนาจให้คนที่เข้าไม่ถึงบริการ สามารถส่งเสียงความต้องการ ได้รับการมองเห็น …

การผลักดันนโยบาย Palliative Care บันทึกสรุปจากกิจกรรม Group Read EP2 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care Read More »

บทบาทขององค์กรชุมชนกรุณา/เมืองกรุณา ในการสนับสนุนการดูแลความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสีย

เดือนมีนาคม 2567 ผ่านมา ผมได้ตอบแบบสอบถามคณะวิจัยจาก Bern Switzerlands ในแบบสอบถามถามว่าองค์กร/กลุ่มที่ทำงานชุมชนกรุณาในเมืองต่างๆ ทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับหน้างานต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ ตอบแล้วก็คิดว่าภาคีเครือข่ายคนทำงานสนับสนุนการอยู่ดีตายดีในประเทศไทยเองก็ทำงานหลายอย่างที่ตรงกัน จึงเขียนรายการกิจกรรม/ งาน ที่อยู่ในขอบเขตของงานชุมชนกรุณา (Compassinate Communities) ดังนี้ ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยยังรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์อยู่ครับ ว่ากิจกรรมร่วมขององค์กรในประเทศต่างๆ ที่กำลังขับเคลื่อนชุมชนกรุณาอยู่ ทำอะไรเป็นส่วนใหญ่ อะไรสำคัญมาก อะไรสำคัญน้อย รายการกิจกรรมมีดังนี้ครับ งานผลักดันนโยบาย 1. เป็นสะพานทำงานร่วมระหว่างรัฐและภาคประชาสังคม เติมเต็มนโยบายสาธารณะ 2. ตอบโจทย์ความท้าทายด้านประชากรและสังคมในปัจจุบัน 3. ให้ความสำคัญกับความเคลื่อนไหวของพลเมือง เตือนให้ระลึกถึงคนที่มักถูกลืม ส่งเสียงความต้องการของประชากรกลุ่มต่างๆ 4. พัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชนกรุณา 5. สร้างแรงกระเพื่อมต่อนโยบายสาธารณะ (รวมทั้งนโยบายองค์กร) ติดตามผลกระทบนโยบาย 6. สร้างการรับรู้การดำรง/มีอยู่ของงานชุมชนกรุณา ทำเนื้อหาข้อมูล จัดงานฝึกอบรมให้ประชาชนกลุ่มใหญ่เข้าใจและเข้าถึงชุมชนกรุณาเพิ่มขึ้น 7. พัฒนาความเท่าเทียมทางเพศในงานดูแล ให้แน่ใจว่าการดูแลไม่ใช่งานเฉพาะของผู้หญิงเท่านั้น งานสร้างความตระหนักและความพร้อมของชุมชน 8. ช่วยให้ผู้คนคุ้นเคย ไม่แปลกแยกกับกับประเด็นการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การตาย ผ่านการให้ข้อมูล การสร้างบทสนทนา และประสบการณ์ …

บทบาทขององค์กรชุมชนกรุณา/เมืองกรุณา ในการสนับสนุนการดูแลความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสีย Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา