บทความ

เจรจาสร้างความร่วมมือการพัฒนาชุมชนกรุณาด้วยหลักการ K.I.S.S. (Keep It Short and Simple)

การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการอยู่และตายดีตามแนวคิดชุมชนกรุณา ไม่สามารถทำโดยลำพัง ทักษะการสร้างความร่วมมือกับผู้นำจากพันธมิตรจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อระดมคน กำลัง และทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในชุมชน มาเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการตายดีมากขึ้น บทความนี้นำเสนอเทคนิคการสนทนาเพื่อเสนอความร่วมมือกับคนที่เราอยากร่วมงานด้วย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่หวังผลการเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการพูดที่สั้น กระชับ เรียบง่าย (Keep It Short and Simple หรือ K.I.S.S.) แต่ได้ผล สรุปเนื้อหาจากงานอบรมหลักสูตรการออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับกระบวนกรชุมชนกรุณา ที่บ้านไม้หอม พระราม 2 วันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2565 สอนโดย ครูอ้อ หทัยรัตน์ สุดา ทำไมต้อง K.I.S.S. ปัญหาหนึ่งของการเจรจาสร้างความร่วมมือที่พบบ่อยๆ ของผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมักสื่อสารเนื้อหาการทำงานที่มากและนานเกินไปในการเสนองาน ไม่น่าสนใจ จนผู้ที่เราอยากจะขอความร่วมมือจับใจความสำคัญไม่ได้ เป็นนามธรรม สิ่งที่เสนออาจจะยากเกินไปในการร่วมงานด้วย ทำให้พลาดโอกาสที่จะสร้างความร่วมมือ สร้างความรู้จักคุ้นเคย พัฒนาความไว้เนื้อเชื่อใจจนเกิดเป็นความร่วมมือระยะยาว การพัฒนาบทเจรจาสร้างความร่วมมือ การขัดเกลาเนื้อหาการเจรจาและประเด็นขอความร่วมมือให้สั้น กระชับ จำได้ เป็นไปได้ และง่ายที่จะร่วมมือด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเปิดประตูโอกาสในการร่วมมือ …

เจรจาสร้างความร่วมมือการพัฒนาชุมชนกรุณาด้วยหลักการ K.I.S.S. (Keep It Short and Simple) Read More »

ข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีสรุปบทเรียนในการทำงานชุมชนกรุณา

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ2022-6-29 บทความนี้เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการสรุปบทเรียนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่สนับสนุนการอยู่และตายดีในพื้นที่ชุมชนกรุณา เรียบเรียงจากการอบรม Workshop สรุปบทเรียนการทำงานชุมชนกรุณา เพื่อสนับสนุนการอยู่ดี ตายดี วันที่ 17-18 มิถุนายน 2565 ณ บ้านไม้หอม พระราม 2 กรุงเทพ วิทยากรโดย คุณหทัยรัตน์ สุดา หรือครูอ้อ แห่งห้องสมุดผีเสื้อ จ.ศรีสะเกษ กับกระบวนกรชุมชนทั้ง 18 คน จากพื้นที่ปฏิบัติการชุมชนกรุณาหลากพื้นที่ ทำไมต้องสรุปบทเรียนชุมชนกรุณา การทำงานชุมชนกรุณา เช่นเดียวกับงานพัฒนาสังคมอื่นๆ ที่คนทำงานอยากเห็นการทำงานของตนเองพัฒนาขึ้น ทำน้อยแต่ได้มาก ตอกย้ำว่างานของเราสามารถแก้ไขปัญหาได้ บรรลุเป้าหมายของงาน จะบรรลุสิ่งเหล่านี้ กลไกสำคัญหนึ่งในการพัฒนางานและตนเองก็คือการสรุปบทเรียน การไม่สรุปบทเรียน ทำให้เราเจอความผิดพลาดซ้ำๆ อุปสรรคที่มีอยู่ก็อาจจะคงอยู่อย่างนั้น สิ่งคาดหวังยังดูเหมือนห่างไกล แน่นอนว่าการสรุปบทเรียนเป็นสิ่งสำคัญ​ แต่จะทำอย่างไรให้บทเรียนที่สรุปได้ไม่เป็นเพียงงานเอกสาร แต่แผ่ซึมเป็นประสบการณ์ในใจ เปลี่ยนแปลงกรอบคิดหรือวิธีทำงานที่ถูกทิศทางมากขึ้น ขณะเดียวกัน คนทำงานก็ได้พัฒนาตนเอง มีชีวิตชีวา เวิร์คชอปที่ครูอ้อนำการเรียนรู้ได้นำเสนอสิ่งนี้ การสรุปบทเรียน ต้องสร้างสมดุลระหว่าง บทเรียน กับ การเสริมพลังอำนาจผู้ร่วมสรุปบทเรียน …

ข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีสรุปบทเรียนในการทำงานชุมชนกรุณา Read More »

ที่มาและแนวคิดชุมชนกรุณา

ที่มา: การพัฒนาการแพทย์สมัยใหม่ สุขาภิบาล และโภชนาการ ส่งผลให้มนุษย์มีอายุยืนนานขึ้น การแพทย์พัฒนาเทคนิคการยื้อชีวิตให้ยาวนานขึ้น แต่ผลอีกด้านคือ ความทุกข์จากขั้นตอนของการตายของผู้ป่วยถูกทำให้ยืดเยื้อยาวนานมากขึ้นด้วย การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) คือการแพทย์ศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ แนวทางการดูแลสำคัญคือ การช่วยสื่อสารวางแผนสุขภาพช่วงท้าย การจัดการความปวดและอาการทางกายที่ลดทอนคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ทีมสุขภาพซึ่งประกอบด้วยบุคลากรอันหลากหลาย ยังสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในมิติทางใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม การดูแลแบบประคับประคองยังถือเป็นศาสตร์ใหม่ในวงการแพทย์ สังคมไทยยังมีบุคลากรการแพทย์ด้านการดูแลแบบประคับประคองที่ไม่เพียงพอ และยังคงเป็นกระแสรองในการดูแลสุขภาพ สิ่งที่ท้าทายคือ สังคมไทยซึ่งเป็นสังคมผู้สูงอายุ กำลังจะมีผู้ป่วยเรื้อรังและระยะท้ายจำนวนมาก ซึ่งแนวโน้มที่จะเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพแบบประคับประคองในโรงพยาบาล และอาจต้องเผชิญความสูญเสียและความตายโดยลำพัง คำถามคือ เราทุกคนจะมีส่วนช่วยผู้ป่วยและครอบครัวที่กำลังเผชิญความสูญเสียกลุ่มนี้อย่างไรได้บ้าง ชุมชนกรุณามีความสำคัญอย่างไร: ชุมชนกรุณา (Compassionate Communities) คือแนวคิดและปฏิบัติการทางสังคมเชิงส่งเสริมป้องกัน ลดผลกระทบ และสนับสนุนให้บุคคลและชุมชนมีความพร้อมด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ให้สามารถรับมือกับความทุกข์จากความเจ็บป่วย การดูแล การตาย และความสูญเสีย บนพื้นฐานของความกรุณา การสร้างการมีส่วนร่วม การคำนึงถึงนิเวศชุมชน และความเป็นธรรมทางสังคม ชุมชนกรุณา เชื่อว่า ประสบการณ์ความสูญเสียเป็นสิ่งที่ใหญ่และสำคัญเกินกว่าจะมอบหมายให้แพทย์ หรือคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งรับผิดชอบ หากเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบทั้งสองด้าน ด้านแรก …

ที่มาและแนวคิดชุมชนกรุณา Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา