grief literacy

End of Life Literacy through Public Education บันทึกการสนทนาในกิจกรรม PHPC Group Read ครั้งที่ 1

10 เมษายน 2567 ผู้สนใจงานชีวาภิบาล รวมกลุ่มสนทนาจากการอ่านบทความข้างต้น ใน discord ชีวาภิบาล มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ อะไรคือ End of Life Literacy บทความข้างต้น อยู่ใตำรา Oxford Textbook of Public Health Palliative Care ปี 2022 นำเสนอประเด็นการสาธารณสุขการดูแลแบบประคับประคองที่หลากหลาย โดยเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพงาน Palliative Care ประการหนึ่งคือการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับความตาย ชีวิตช่วงท้าย และโศกเศร้าจากการสูญเสียในประเทศไทยยังไม่กำหนดศัพท์บัญญัติที่ชัดเจน โดยในบทความนี้ใช้คำว่า ความรู้เท่าทันความตาย = Death Literacy (DL) โฟกัสที่การรับมือกับความตายโดยรวม ความรู้เท่าทันความโศก = Grief Literacy (GL) โฟกัสที่การรับมือกับความโศกเศร้าจากการเผชิญความสูญเสีย ทั้งก่อนผู้ป่วยเสียชีวิต ระหว่าง และหลังการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ความรู้เท่าทันชีวิตช่วงท้าย = End of Life Literacy (ELL) …

End of Life Literacy through Public Education บันทึกการสนทนาในกิจกรรม PHPC Group Read ครั้งที่ 1 Read More »

ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy)

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2565 Key Message ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy) คือศักยภาพในการรับมือความโศกเศร้าจากความสูญเสีย ประกอบด้วยความรู้ ทักษะปฏิบัติ และคุณค่าที่สนับสนุนการรับมือ การสร้างความรู้เท่าทันความโศกเศร้า คือการเสริมสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติของบุคคลและเครือข่ายต่างๆ ของชุมชน ให้มีความสามารถในการดูแลความสูญเสีย เน้นการทำงานเชิงส่งเสริมป้องกันมากกว่าการบำบัด ความโศกเศร้า ความโศกเศร้า (Grief) คือประสบการณ์ความทุกข์หลังการสูญเสียสิ่งที่มีความสำคัญโดย โดยเฉพาะบุคคลที่มีความผูกพันและมีความหมาย [1] อาจรวมถึงการสูญเสียอวัยวะ การงาน วิถีชีวิตปกติ การสูญเสียคุณค่าสำคัญที่บุคคลยึดถือ รวมถึงการรับรู้ว่าชีวิตของตนเหลืออยู่จำกัดอันเนื่องจากความเจ็บป่วยและการตาย ความโศกเศร้ามองได้หลายแง่มุม ในมุมจิตวิทยา เราอาจมองว่าความโศกเศร้าคือปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังความสูญเสียของปัจเจกบุคคล ผู้สูญเสียจะใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อรับมือกับความเศร้าในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยมีปลายทางคือการฟื้นคืนสมดุลชีวิต และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ความเศร้าที่ผิดปกติ เรื้อรัง หรือซับซ้อน จำเป็นต้องรักษาหรือได้รับความช่วยเหลือโดยผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยา นักบำบัด  ในทางการแพทย์ อาจมองความโศกเศร้าในมุมของชีววิทยา หรือประสาทวิทยา ความโศกเศร้าอาจรักษาได้ด้วยยาต้านเศร้า เพื่อคืนสมดุลเคมีในสมอง และกลับมาดำเนินชีวิตและทำงานได้ตามปกติ การมองความเศร้าทั้งสองแง่มุมมีส่วนถูก แต่ก็มีข้อจำกัด เพราะในสถานการณ์โรคระบาดที่คนในสังคมเผชิญความสูญเสียขนานใหญ่ …

ความรู้เท่าทันความโศกเศร้า (Grief Literacy) Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา