group read

การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลแบบประคับประคอง บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP3 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care

ด้วยเหตุที่ผู้ป่วยด้วยโรคคุกคามชีวิตทุกคนควรเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง แต่ประชาชนจำนวนมากยังไม่รู้จักแนวทางนี้ สังคมจึงจำเป็นต้องใช้กระบวนวิธี “การสร้างเสริมสุขภาพ” มาร่วมผลักดันการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อให้การตายดีเข้าถึงได้ในระดับประชากร ประเด็นสำคัญในบทความ การดูแลแบบประคับประคอง เกิดขึ้นในบริบทของการให้บริการสุขภาพ (Service Delivery) ในโรงพยาบาลหรือสถานดูแลผู่ป่วยระยะท้าย แต่เมื่อบุคลากรเห็นข้อจำกัดของระบบบริการสุขภาพ กำลังคน งบประมาณ และบริบทการดูแล จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้ประชาชนเรียนรู้แนวทาง และมีทักษะการดูแลชีวิตช่วงท้ายและการตายของตนเอง รวมทั้งการสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจแนวทางการดูแลแบบประคับประคองแต่เนิ่นๆ ในแง่นี้ รัฐบาลท้องถิ่นและระดับชาติ จึงควรพิจารณาใช้การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion) มาร่วมกับการขยายการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ ได้รับการรับรองและสนับสนุนโดยสมัขชาสุขภาพองค์การอนามัยโลก ผ่านกฎบัตรอัตตาวา (Ottawa Chartoer for Health Promotion) ปี 1988 ซึ่งหลายประเทศรวมทั้งไทย นำมาใช้เป็นแนวทางสร้างเสริมสุขภาพ ดังการทำงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขบวนการสร้างชุมชนสุขภาวะ รวมทั้งเครือข่ายชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน (Strengthen Community Action) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal Skill) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ …

การสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลแบบประคับประคอง บันทึกสรุปกิจกรรม Group Read EP3 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care Read More »

การผลักดันนโยบาย Palliative Care บันทึกสรุปจากกิจกรรม Group Read EP2 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care

บันทึกโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ เมื่อทุกคนจำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตช่วงท้ายที่ดีและจากไปอย่างสงบ ทั่วถึงและเท่าเทียม การผลักดันนโยบายให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐจึงจำเป็น ประเด็นสำคัญในบทความ การพัฒนาบริการการดูแลแบบประคับประคองให้ครอบคลุมนั้น ต้องอาศัยอำนาจรัฐช่วยผสานการดูแลแบบประคับประคองเข้าสู่ระบบสุขภาพทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับปฐมภูมิ เนื่องจากการดูแลนี้เชื่อมโยงกับการใช้ยาบรรเทาปวดที่มีฤทธิ์เสพติด และการดูแลแบบประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงท้ายและตายอย่างสงบ เป็นสิทธิมนุษยชน เอกชนและชุมชนยังไม่สามารถให้บริการนี้ด้วยตนเองได้อย่างครอบคลุม บทความนี้ย้ำหลายครั้งว่า การดูแลแบบประคับประคองเป็นสิทธิ์พื้นฐาน (Rights) ไม่ใช่สิทธิ์พิเศษ (Priviledge) อุปสรรคสำคัญของการผลักดันงานดูแลแบบประคับประคอง คือ การรักษาดูแลสุขภาพกระแสหลัก ยังมุ่งการรักษาและผลกำไร มากกว่า ระบบสุขภาพที่ให้บริการอย่างเท่าเทียมต่อความต้องการที่ถูกละเลยมากที่สุด (การรักษาสำคัญกว่าการดูแล ซึ่งเป็นงานระยะยาว อยู่ในมือของชาวบ้าน และไม่ทำกำไร – ผู้บันทึก) บทความนี้เสนอหลักปฏิบัติในการผลักดันนโยบาย 5 ประการ ได้แก่ หลักเอกภาพ (Solidarity) หลักการมีส่วนร่วม (Participatory) หลักสิทธิ์และหน้าที่ (Rights and responsibilities) หลักกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น (Subsediarity) หลักความใกล้ชิด (Proximity) หลักเอกภาพ (Solidarity)  ให้ความสำคัญกับการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เสาะแสวงหาว่าใครตกหล่นจากการดูแลคุณภาพชีวิตช่วงท้าย เสริมสร้างพลังอำนาจให้คนที่เข้าไม่ถึงบริการ สามารถส่งเสียงความต้องการ ได้รับการมองเห็น …

การผลักดันนโยบาย Palliative Care บันทึกสรุปจากกิจกรรม Group Read EP2 Oxford Textbook of Public Health Palliative Care Read More »

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา