เบาใจ Family x ClubHouse

เขียนโดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ

19 ธ.ค. 2564

การสนทนาเรื่องชีวิตและความตาย เป็นกิจกรรมสำคัญที่ทำให้ผู้คนตระหนักถึงธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิต นั่นคือความตายเป็นสิ่งที่เราจะต้องเผชิญในสักวันหนึ่ง แต่การจะดูแลให้การตายผ่านพ้นไปด้วยดีและสงบนั้นเป็นสิ่งที่เตรียมพร้อมได้ด้วยการศึกษาข้อมูลความรู้ ฝึกฝนทักษะที่จำเป็น และมีทัศนคติที่อำนวยต่อการตายดีบางประการ

จะดีที่สุดถ้าเราได้นั่งลงและสนทนาเรื่องสำคัญนี้ต่อหน้า แต่ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้การเจอหน้ากันมีความเสี่ยงมากขึ้น ยังดีที่เทคโนโลยียังมาช่วยเอื้อให้การเชื่อมต่อและการสร้างบทสนทนายังพอเป็นไปได้อยู่บ้าง 

ในช่วงปี 2563-2564 ที่ผ่านมา เกิดกระแสการใช้งาน Platform Clubhouse ในสังคมไทย ทำให้ผู้คนแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารท่ีมีความเป็นชุมชนที่มีความสนใจร่วม (Interested communities) ดังนั้น ทีมเบาใจ Family ซึ่งนำโดยคุณกอเตย ปิญชดา ผ่องนพคุณ และทีมงานจึงเปิดบทสนทนาเรื่องชีวิตและความตายใน Clubhouse ในช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน 2564 เพื่อสร้างพื้นที่เรียนรู้เรื่องชีิวิตและความตายในพื้นที่ที่ผู้แลกเปลี่ยนมีความเป็นส่วนตัวสูง (ผู้เข้าร่วมไม่จำเป็นต้องเปิดเผยใบหน้า ชื่อจริง และข้อมูลจากการพูดคุยจะถูกเก็บเป็นความลับ ไม่เผยแพร่ในที่อื่น) ขณะเดียวกันก็ได้ทดลองว่า ในพื้นที่ที่การเชื่อมต่อถูกจำกัดผัสสะ เรายังจะสามารถสร้างชุมชนที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันได้หรือไม่

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ใช้ Platform Clubhouse โดยมากมักเป็นกลุ่มวัยทำงาน ที่สนใจการพัฒนาชีวิต การดูแลคุณภาพชีวิต การดูแลความเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว

พื้นที่

Clubhouse https://www.clubhouse.com คือแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ประชุม หรือพูดคุยสนทนาสดแบบสื่อเสียง ที่ผู้ใช้สามารถมีบทบาททั้งการฟังสด และยกมือเป็นผู้แลกเปลี่ยนได้ด้วย ผู้ใช้สามารถเปิดห้องได้โดยกำหนดประเด็นและคำบรรยาย รวมทั้ง Keyword ที่สื่อถึงประเด็นพูดคุยถึงห้องนั้นๆ ผู้สนใจประเด็นสามารถกดเข้าร่วมรับฟังได้ตามเวลาที่กำหนด อีกทั้งยังสามารถกดติดตามได้ด้วย การใช้แพลตฟอร์มจำเป็นต้องมีสมาร์ทโฟนที่ติดตั้ง App Clubhouse ในเครื่อง

การใช้งานที่ผู้ใช้สามารถติดตามประเด็นและผู้ใช้ที่น่าสนใจ (เพราะมักมีความเชี่ยวชาญในประเด็นที่แบ่งปัน) จึงเกิดลักษณะของการรวมกลุ่มชุมชน พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามพื้นที่ทางกายภาพ สู่ชุมชนความสนใจได้ง่ายขึ้น เบาใจ Family จึงใช้ทดลองพื้นที่ดังกล่าวในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนสนทนาเรื่องชีวิตและความตาย ในทุกวันพฤหัสบดี เวลา 18.00 – 19.30 น.

กระบวนการพัฒนา

การจัดประเด็นสนทนา ออกแบบให้มีความสมดุลระหว่าง 1) การให้เนื้อหาความรู้เรื่องชีวิตและความตาย 2) การสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้นำและผู้เข้าร่วม Club ในช่วงท้ายของกิจกรรมจะมีการเปิดไพ่รุ้ง เพื่อเชื่อมโยงคุณภาพเชิงบวกเป็นประสบการณ์ดีๆ ทิ้งท้าย 

เบาใจ Family จะจัดกิจกรรมทุกวันพฤหัสบดี เวลา 18.00 – 19.30 น. ตั้งแต่ 2 ก.ย. – 25 พ.ย. 2564 โดยได้สร้าง Club ที่ https://www.clubhouse.com/club/เบาใจ-family และจะประชาสัมพันธ์ผ่่านเพจ เบาใจ Family https://www.facebook.com/BaojaiFamily และ Peaceful Death โดยตารางกิจกรรมมีดังนี้ 

 วัน / เวลาจัดกิจกรรม หัวข้อกิจกรรม
2 ก.ย. ,16 ก.ย. 6430 ก.ย. 6414 ต.ค. 64 1.ล้อมวงเล่นไพ่ มาไขชีวิต EP.5 – EP.8 
13 ก.ย. 64 18.00 น.2. อยากทำพินัยกรรมชีวิต ฉบับโควิด เขียนยังไงดี? 
23 ก.ย. 64 18.00 น.3. “ดูใจกันไหม?” ชวนคุณมาสำรวจหัวใจด้วยไพ่ฤดูฝน
7 ต.ค. 64 18.00 น.4. มา Share กัน : เหตุผลที่ยังอยากมีชีวิตอยู่ 
21 ต.ค. 64 18.00 น.5. เตรียมตัว เตรียมใจอย่างไร? หากวันหนึ่งพ่อแม่อาจเจ็บป่วย
28 ต.ค. 64 18.00 น.6. The last party : เราจะคุยกันราวกับว่า..วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต 
4 พ.ย. 64 18.00 น.7. เมื่อสังคมไทยยังไปไม่ถึงการุณยฆาต แล้วคนไทยจะมีสิทธิเข้าถึงการตายดีได้อย่างไร ?
11 พ.ย. 64 18.00 น.8. วางแผนการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตด้วยสมุดเบาใจ 
18 พ.ย. 64 18.00 น. 9. Last Conversation : จับมือไว้คุยเรื่องจากไปด้วยกัน 
25 พ.ย. 64 18.00 น.10. เตรียมไว้ก่อนตาย ดีไซน์งานศพ 

กิจกรรมบางกิจกรรม กระบวนกรอาจเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาร่วมให้ข้อมูล บางกิจกรรมกระบวนกรสามารถนำคุยได้เอง ในทีมงานยังมีผู้ช่วยที่ช่วยดูแลเรื่องระบบ (การเปิดห้อง ปิดห้อง การเปิดไมค์) และกระบวนกรผู้ช่วยที่ช่วยเขียน Visual Note เพื่อสื่อสารสาระจากวงคุยให้ผู้ติดตามในแฟนเพจได้รับทราบ

pastedGraphic.png
pastedGraphic_1.png

ตัวอย่าง poster กิจกรรม

pastedGraphic_2.png

ตัวอย่างกิจกรรม

pastedGraphic_3.png

ตัวอย่าง visual note (ดูอัลบัมภาพได้ที่ https://www.facebook.com/BaojaiFamily/posts/231872912384533)

วิธีประเมินผล

การประเมินผล ประเมินจากจำนวนผู้เข้าร่วม โดยใช้ช่วงหลังที่ ClubHouse มี feature ส่งข้อความไปให้ กระบวนกรก็จะส่งแบบสอบถามหลังกิจกรรมไปให้ผู้เข้าร่วมกรอกเพื่อรับรู้ผลสะท้อนจากการจัดกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีการตามไป search ข้อมูลสะท้อนจากการเขียน review ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งประเมินผลเชิงคุณภาพจากความสัมพันธ์และความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนกร ทีมงาน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ผลลัพธ์

จากการจัดกิจกรรม พบว่ามีผู้เข้าร่วมตลอดกิจกรรมเป็นจำนวน 366 คน ในจำนวนนี้ มีผู้เข้าร่วมที่ติดตามกิจกรรมของเบาใจ Family เป็นประจำ (กลุ่มแฟนคลับ) ขณะเดียวกัน มีผู้สมัครเข้าร่วมคลับ เบาใจ Family จำนวน 418 คน (รวบรวมข้อมูลเมื่อ 25 พ.ย. 2564 นอกจากนี้ ยังพบผลลัพธ์จากการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจอีกดังนี้

1. การสร้างบทสนทนาเรื่องชีวิตและความตาย เป็นไปได้ใน Platform Clubhouse โดยเฉพาะผู้เข้าถึงอุปกรณ์มือถือที่รองรับแอพนี้ และมีความสะดวกใจในการแลกเปลี่ยนผ่านเสียง ไม่แสดงหน้าตาและอัตลักษณ์อย่างเปิดเผย แอพดังกล่าวทำให้การคุยเรื่องที่มีความอ่อนไหว เช่น ภาวะซึมเศร้า ความคิดฆ่าตัวตาย ประเด็นที่มีความอ่อนไหวไหวทางจริยธรรม เช่น การุณฆาต การขอจากไปอย่างสงบโดยไม่ยื้อชีวิต

2. การพูดคุยเรื่องชีวิตและความตาย ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองของกระบวนกรและวิทยากรรับเชิญ นำมาซึ่งแรงจูงใจและทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเตรียมตัวตาย การดูแลแบบประคับประคอง การวางแผนดูแลล่วงหน้า โดยเครื่องมือหลักที่ใช้ประยุกต์สื่อสารคือ เกมไพ่ไขชีวิต สมุดเบาใจ

3. กิจกรรมดูแลสุขภาพจิต ก็สามารถทำผ่าน Platform Clubhouse ได้เช่นกัน เช่น กิจกรรมไพ่ฤดูฝน การทำวงสุนทรียสนทนา การแลกเปลี่ยนและพบปะกันอย่างต่อเนื่องในทุกสัปดาห์

4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางส่วนเห็นคุณค่าของการสื่อสารอย่างสันติ การรับฟังอย่างใส่ใจ การไม่ตัดสิน และนำไปใช้ปฏิบัติดูแลความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

5. เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้การอยู่และตายดี และชุมชนดูแลใจขนาดเล็ก ระหว่างกระบวนกรชุมชน ผู้ช่วยวิทยากร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่พบกันบ่อยๆ เช่น การไปมาหาสู่ การสนับสนุนทางเทคนิคในการจัดกิจกรรม การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การช่วยไปเป็นวิทยากรให้ความรู้ การสนับสนุนกำลังใจ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องชีวิตและความตาย เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ

  1. ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการดูแลแบบประคับประคอง  การใช้เครื่องมือสื่อสารเรียนรู้เรื่องการอยู่และตายดีของทีมกระะบวนกร ความเป็นมิตรไมตรีและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของกระบวนกรและทีมงาน
  2. กระบวนการจัดการความรู้ การถอดบทเรียนและพัฒนาการจัดกิจกรรมของทีมงานอย่างต่อเนื่อง
  3. การสนับสนุนเครื่องมือการจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องชีวิตและความตาย
  4. การสนับสนุนจากทีมวิทยากรรับเชิญ

ช่องว่างและการพัฒนา

  1. ปริมาณผู้เข้าร่วมยังอยู่ในวงจำกัด หากมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง อาจมีผู้เข้าร่วมพูดคุยในปริมาณที่มากขึ้น
  2. เนื้อหาบางกิจกรรมเหมาะกับการเผยแพร่ในวงกว้าง เช่น ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง ควรมีการบันทึกไว้เพื่อเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป
  3. ความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น ความต้องการ ช่องว่าง painpoint กระบวนกรชุมชนควรนำมาออกแบบกิจกรรมและเนื้อหาที่ตอบโจทย์ เพื่อให้ประชาชนในวงกว้างได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการอยู่ดี ตายดี และชุมชนกรุณา
  4. ควรพัฒนาวงสุนทรียสนทนาดังกล่าวใน clubhouse และ platform ในลักษณะเดียวกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเพิ่มการเข้าถึงการดูแลสุขภาพจิต ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวตาย และการวางแผนดูแลล่วงหน้า
  5. ควรหาโอกาสจัดกิจกรรมแบบ onsite เพื่อสร้างชุมชนกรุณที่มีความเหนียวแน่นต่อไป
  6. ควรเชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียง และจัดสนทนาประเด็นร้อนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การวางแผนดูแลล่วงหน้า เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการตายดีอย่างต่อเนื่อง

สรุป

เบาใจ Family คือตัวอย่างปฏิบัติการชุมชนกรุณาอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้การอยู่และตายดีผ่านแอพ Clubhouse ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางส่วนสามารถพัฒนาต่อยอดความสัมพันธ์สู่ชุมชนแห่งการดูแลช่วยเหลือกันด้านความรู้ ทักษะ และการดูแลสุขภาพจิตในระยะยาว ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมสุนทรียดังกล่าวควรจัดอย่างต่อเนื่องในหัวข้อที่หลากหลายร่วมกับวิทยากรหรือกระบวนกรรับเชิญในโอกาสต่อไป

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ Inbox fanpage เบาใจ Family https://www.facebook.com/BaojaiFamily

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา