บทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ ในการพัฒนาระบบชีวาภิบาล

ทำไม สสจ./ สสอ.จึงมีความสำคัญกับระบบชีวาภิบาล

ระบบชีวาภิบาล คือการเชื่อมโยงระบบบริการระหว่างโรงพยาบาลทุกระดับ จนถึง ชุมชน  เพื่อเป้าหมายในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และผู้ป่วยระยะประคับประคอง งานอภิบาลระบบ หรือการพัฒนาระบบ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ในงานนี้เจ้าหน้าที่สาธาธารณสุขจังหวัดและอำเภอ เป็นผู้เล่นและพันธมิตรสำคัญในการขับเคลื่อนระบบ

ความท้าทายงานชีวาภิบาล

1. การพัฒนาบุคลากรทั้งภายในองค์กรกระทรวงสาธารณสุขให้เกิดความรู้ความเข้าใจในระบบชีวาภิบาล

2. การสร้างความยั่งยืน โดยให้หน่วยงานอื่น/หน่วยงานภาคีเครือข่าย ( ชุมชน ท้องถิ่น หน่วยบริการสุขภาพทั้งเอกชนและรัฐบาล) เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบระบบบริการ ให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่หน่วยโดยการวางเป้าหมายร่วม ตามภารกิจของหน่วยงานนั้น

3. การจัดการข้อมูล ตามกลุ่มเป้าหมาย (Data Center) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา วางแผนยุทธศาสตร์และออกแบบระบบบริการให้สอดคล้องกับบริบท

4. การส่งเสริมให้ประชาชน มีความรอบรู้ ด้านสุขภาพ เพื่อการดูแลตนเอง การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และผู้ป่วยระยะประคับประคอง

บทบาทหน้าที่ สสจ.สสอ. ในงานชีวาภิบาล

1. ศึกษานโยบาย เป้าหมาย กระบวนการทำงาน ด้านการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และระยะประคับประคอง ระดับประเทศ และเขตสุขภาพพื้นที่ 

2. วิเคราะห์โครงสร้างองค์กร ระดับจังหวัด / สสอ. ตามภาระงาน เพื่อออกแบบงาน หาเจ้าภาพหลักในการทำงาน ในการวางเป้าหมาย /แผนงานของโครงการระดับจังหวัด

3. จัดการข้อมูล เช่น

  • วิเคราะห์การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และผู้ป่วยระยะประคับประคอง รวมทั้งข้อมูลผู้ให้การดูแล (Caregivers) และผู้จัดการดูแล (Care mangers) เช่น ข้อมูล CG, CM ที่ควรมี เปรียบเทียบกับจำนวนที่มีอยู่จริง
  • ศึกษาเกณฑ์มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และผู้ป่วยระยะประคับประคอง (ดูแนวทางการดูแลผู้ป่วย และคู่มือการดำเนินงาน)
  • ประเมินผลการดำเนินงาน ผู้ป่วยผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาว และผู้ป่วยระยะประคับประคอง (ระดับ โรงพยาบาล /สสอ./รพสต.) เพื่อหา GAP 
  • คืนข้อมูล (ระดับ โรงพยาบาล /สสอ./รพสต.) เพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์ ระดับจังหวัด เพื่อกำหนดมาตรการการทำงาน  3 ระดับ  (ต้นน้ำ -กลางน้ำ-ปลายน้ำ)

4 จัดทำแผนงานโครงการระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนการทำงานในภาพรวมระดับจังหวัด  

  • สนับสนุนการดำเนินการให้บริการคลินิกผู้สูงอายุ สนับสนุนการทำแผนการดูแลล่วงหน้า (ACP) ในโรงพยาบาลและชุมชน จัดบริการระบบการดูแลผู้ป่วยระยะยาว และระยะประคับประคอง (Palliative Care) ในโรงพยาบาลและชุมชน
  • การประสานงานการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะยาวและระยะประคับประคองกับหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด พมจ. อบจ. คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด (พชจ.) เป็นต้น
  • จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประสานงานระดับ โรงพยาบาล 

5. ติดตามประเมินการทำกงานระดับจังหวัด อำเภอ รพสต. เพื่อรายงานความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนิน เพื่อรายงานให้ผู้บริหาร ระดับหน่วยงาน /สสจ.รับทราบ

  • กำกับดูแล ประเมินผล สนับสนุนการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลระดับต่างๆ 
  • ผ่านเวทีการประชุมคณะกรรมการบริหารระดับจังหวัด
  • การตรวจราชการ ผลงาน ๓ เดือน ๖ เดือน ๙ เดือน ๑๒ เดือน
  • การเข้าร่วมในเครือข่ายการสื่อสาร (กลุ่ม line, กลุ่ม facebook, ติดตามบัญชีเครือข่ายสังคมออนไลน์) กลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคอง

6. เยี่ยมเสริมพลังหน่วยงานต่างๆ ในระบบชีวาภิบาล ผ่านเวทีประชาคมของชุมชน/ท้องถิ่นที่ดำเนินการอยู่แล้ว การเข้าร่วมกิจกรรมประชุมพัฒนาระบบในโรงพยาบาล การเข้าร่วมรับฟังการอบรม/ประกวดเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับงานชีวาภิบาล เป็นต้น

Download แนวทางคู่มือที่เกี่ยวข้อง

ท่านสามารถศึกษาชุดเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากการดำเนินงานของเขตสุขภาพที่ 9 ที่ลิงก์นี้ https://drive.google.com/drive/folders/1SxHVBmlNgVdCZyeLvPdlZtxx_vwbSlty?usp=sharing และดาวน์โหลดคู่มือต่างๆ ดังรายการดังต่อไปนี้

  • มาตรฐานและแนวทางพัฒนาสถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา จัดทำโดย กรมอนามัยและ สปสช. https://bit.ly/4bzMACG 
  • คู่มือดำเนินการสถานชีวาภิบาลฉบับสมบูรณ์ กองบริหารการสาธารณสุข สป. กระทรวงสาธารณสุข 2024 https://bit.ly/4dbrID9
  • เอกสารดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ https://bit.ly/4bA559V
  • แนวทางการขึ้นทะเบียนตามมาตรา 3 พรบ.สปสช. (การจัดรบริการร่วมระหว่าง สปสช. และภาคประชาชน) https://bit.ly/4bvv9Di
  • เกณฑ์ประเมิน Nursing Home ชีวาภิบาล https://bit.ly/3XXcJby
  • คู่มือการดำเนินงานกุฏิชีวาภิบาล https://bit.ly/3SrMean
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา